Page 45 - kpiebook63014
P. 45
44 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
ขั้นตอนแรกอาจนำาไปสู่ระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบไม่เสรี ที่เน้นการเข้าสู่อำานาจโดยการเลือกตั้งเป็นหลัก
ขั้นตอนนี้อาจอยู่ยาวนานโดยไม่เกิดขั้นตอนที่สองคือการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ข้อคิดเห็น
ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อคิดเห็นและทัศนะของนักวิชาการในแวดวงรัฐศาสตร์ที่เสนอว่าในกระบวนการ
เปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในบทความ Democratic society and its enemies ที่เขียนโดย Arblaster
(อ้างใน Haynes, 2005, 38) อธิบายว่าในช่วงคลื่นลูกที่ 3 ของประชาธิปไตย (กลางทศวรรษที่ 1970 – กลาง
ทศวรรษที่ 1990) การเปลี่ยนจากประเทศเผด็จการอำานาจนิยมสู่ประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่บ่อยครั้งไม่ราบรื่น
ไม่ทันทีทันใด หรือไม่สมบูรณ์ หรือดังที่ Schedler ในบทความเรื่อง The menu of manipulation. Election
without democracy (อ้างใน Haynes, 2005, 38) ตั้งข้อสังเกตว่ามีประเทศในระบอบประชาธิปไตยระยะ
ผ่านจำานวนมากที่อาจอยู่ในระยะผ่านในระยะที่ยาวนาน กล่าวคือไม่เป็นทั้งประชาธิปไตยที่ชัดเจน หรือ
อำานาจนิยมอย่างเต็มรูปแบบ กล่าวโดยสรุปนักวิชาการจำานวนมากได้ตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการทำาให้
เป็นประชาธิปไตย (process of democratization) จะผ่านขั้นตอน 4 ขั้นตอนดังนี้ (Haynes, 2005, p.39)
1. การมีเสถียรภาพทางการเมือง ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแตกหักกับเผด็จการอำานาจนิยม
หรือกล่าวอีกอย่างคือ กระบวนการปฏิรูประบอบอำานาจนิยมด้วยการให้เสรีภาพทาง
การเมืองเกิดขึ้น
2. เมื่อแตกหักจากกระบวนการปฏิรูประบอบอำานาจนิยมแล้ว ก็จะนำาไปสู่การล่มสลายของ
ระบอบอำานาจนิยม
3. การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย โดยมีหลักหมายที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ การเลือกตั้งที่นำา
ไปสู่รัฐบาลใหม่
4. การสร้างประชาธิปไตยที่มั่นคง (Democratic consolidation) เป็นกระบวนการที่ภาคส่วน
ต่างๆ ทั้งในกลุ่มชนชั้นนำาและประชาชนทั่วไปเห็นพ้องกันว่าระบอบประชาธิปไตย เป็น
หนทางในการดำาเนินการ/กิจกรรมทางการเมืองที่ดีที่สุด (the best way of ‘doing’ politics)
ความยากลำาบากในการเปลี่ยนผ่านคือในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่หลายประเทศในระบอบ
ประชาธิปไตยระยะผ่านติดหล่มอยู่เป็นเวลายาวนาน โดยที่อาจนำาระบอบการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
แบบไม่เสรี เพราะหลังจากที่ริเริ่มเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่าน จากกฎเกณฑ์กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
แรงผลักดันของการปฏิรูปการเมืองในขั้นตอนที่ 1 อาจจะไม่ถูกรักษาไว้ ประเทศหลังเผด็จการอำานาจ
นิยมสามารถที่จะเส้นทางทางการเมืองที่จะเดินไปได้หลายทิศทาง บ่อยครั้งที่ระบอบของประเทศหลัง
เผด็จการอำานาจนิยมจะมีระบอบพันธุ์ผสม ที่มีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมผสมกับการมีรัฐบาลที่รวม
ศูนย์อำานาจ รวมทั้งประเทศที่เคลื่อนจากกฎเกณฑ์ของระบอบอำานาจนิยมเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่าน
สู่ประชาธิปไตยมักถูกทำาให้ต้องพัฒนาและรวมตัวเองเข้าสู่วิถีประชาธิปไตยทางการเมือง อย่างไรก็ตาม
ประเทศเหล่านี้อาจมีคุณลักษณะของระบบการเมืองที่ขาดความเป็นสถาบันที่เกิดจากพัฒนาการของ
โครงสร้างในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีสาเหตุดังนี้