Page 44 - kpiebook63014
P. 44
43
ในภาพรวมของบรรดาประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยตั้งมั่นจะมีคุณลักษณะทางการเมือง
ร่วมกันดังนี้
• มีความเป็นสถาบันทั้งในทางการเมืองและในสังคมระดับสูงที่มีขอบข่ายและการเชื่อมโยง
กันทั้งสถาบันในรัฐและสังคม
• มีกติกาในแบบประชาธิปไตยที่ได้รับการยอมรับจากตัวแสดงทางการเมืองที่สำาคัญๆ ทั้งหมด
ร่วมกัน
• กองทัพจะมีนัยยะสำาคัญน้อยลงหรือไม่มีนัยยะสำาคัญทางการเมือง
• การบูรณาการระดับลึกในชุมชนทั้งส่วนภูมิภาคและระหว่างประเทศ
• การก่อตั้งหรือจัดตั้งองค์กรต่างๆ เกิดจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองในระดับสูง
• มีกลไกควบคุมและอดกลั้นต่อความเห็นที่แตกต่างกัน
ในหนังสือของ Mainwaring และคณะ Issues in Democratic Consolidation: The New South
America Democracies in Comparative Perspective (อ้างใน Haynes, 2005, 19) เห็นว่า ระบอบ
ประชาธิปไตยจะเรียกว่ามีความตั้งมั่นได้ต่อเมื่อตัวแสดงสำาคัญทางการเมืองทั้งหมดยอมรับโดยไม่คัดค้าน
ในข้อเท็จจริงที่ว่า แม้ระบอบเผด็จการก็สามารถ เปลี่ยนผ่านสู่กระบวนการประชาธิปไตยได้ โดยไม่ใช่
การยึดการเลือกตั้งหรือผลการเลือกตั้งเพียงประการเดียว แต่สิ่งที่สำาคัญยิ่งกว่านั้นคือการก่อรูปของ
สถาบันประชาธิปไตย ที่มีกระบวนการเปิดให้เกิดการแข่งขันทางการเมือง พรรคการเมืองมีความ
หลากหลาย และมีการแข่งขันอย่างเสรีที่ได้รับหลักประกันจากกฎหมาย
ขณะที่ หนังสือเรื่อง Problems of Democratic Transition and Consolidation Southern Europe,
South America, and Post-Communist Europe ที่ศึกษาโดย Linz and Stephan (อ้างใน Haynes, 2005,
19) เห็นว่าลักษณะที่สำาคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น (democratic consolidation) ประกอบด้วย ;
behavioral พฤติกรรมที่ตัวแสดงต่างๆ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือสถาบันใดจะต้อง
ไม่ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองต่อการสร้างระบอบไม่เป็นประชาธิปไตย หรือการใช้ไปเพื่อความรุนแรง
หรือการแทรกแซงโดยต่างชาติเพื่อมุ่งหวังแยกตัวออกจากรัฐ
attitudinal ประชาธิปไตยจะตั้งมั่นได้ เงื่อนไขหนึ่งคือการที่พลเมืองส่วนมากเชื่อว่ากระบวนการ
และสถาบันประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายที่ดีที่สุดเพื่อการปกครองชีวิตสาธารณะร่วมกัน
constitutional เมื่อเกิดความขัดแย้งภายในสังคมทั้งกำาลังของรัฐบาลและที่ไม่ใช่รัฐบาลจะต้อง
เล็งเห็นความสำาคัญของการแก้ไขความขัดแย้งด้วยกฎหมายที่เป็นหลักการเดียวกัน
งานศึกษาของ O’Donnell and Schmitter (1986, 6) ได้กล่าวว่าการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง
โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน โดยการเปลี่ยนผ่านใน