Page 39 - kpiebook63014
P. 39
38 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
อีกทั้งสามารถประเมินค่าว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ แต่จะมีความสัมพันธ์กับระบบ
การเมืองโดยทั่วไปและกับปัจจัยนำาออกของระบบการเมืองเท่านั้น กล่าวคือ อยู่ในฐานะ
ผู้รอรับผลจากระบบการเมืองโดยที่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการของตนต่อ
ระบบ แม้เขาจะเคารพเชื่อฟังระบบ แต่ก็มองว่าตนเองแทบจะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อระบบ
คอยแต่จะรับผลกระทบจากระบบ เป็นบุคคลที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับอำานาจรัฐและยอมรับ
ต่ออำานาจนั้น หากแต่ไม่รู้ว่าตนเองจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผ่านช่องทาง
กลไก หรือสถาบันใด (พฤทธิสาณ, 2556, 102)
3. วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม (participant political culture) เมื่อคนในสังคมมีความรู้
มีความรู้สึกเกี่ยวกับระบบการเมืองและส่วนต่างๆ ของระบบการเมืองมากขึ้น จะเป็นไป
ในทางบวกหรือทางลบก็ได้ และมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีบทบาททางการเมือง
(พฤทธิสาณ, 2556, 102)
วัฒนธรรมการเมืองทั้ง 3 รูปแบบสามารถนำามาอธิบายความสัมพันธ์กับระบบการเมือง และ
รูปแบบการปกครองได้ดังนี้ (วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน, 2551, 381)
ต�ร�งที่ 2.1 คว�มสัมพันธ์กับระบบก�รเมือง และรูปแบบก�รปกครอง
ระดับของก�รรับรู้ คว�มรู้สึก และคว�มเข้�ใจต่อ
ประเภทของ
วัฒนธรรม ระบบ ก�ร นโยบ�ย ก�ร รูปแบบก�รปกครอง
ท�งก�รเมือง ก�รเมือง กำ�หนด มีส่วนร่วม
นโยบ�ย
แบบคับแคบ ตำ่าสุด ตำ่าสุด ตำ่าสุด ตำ่าสุด แบบดั้งเดิม (สังคมเผ่า)
แบบไพร่ฟ้า ค่อนข้างตำ่า ตำ่าสุด ตำ่าสุด ตำ่าสุด แบบอำานาจนิยม และ
แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม
แบบมีส่วนร่วม สูง สูง สูง สูง แบบประชาธิปไตย
วัฒนธรรมการเมืองทั้ง 3 ประเภทจัดได้ว่าเป็นตัวแบบในเชิงอุดมคติ เนื่องจากระบบการเมือง
หนึ่งๆ ประชาชนในประเทศนั้นๆ อาจมีวัฒนธรรมการเมืองแบบผสม (mixed political culture) กล่าวคือ
ในประเทศที่คนมีวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วมนั้น บุคคลบางกลุ่มอาจมีวัฒนธรรมทางการเมือง
แบบคับแคบและแบบไพร่ฟ้าผสมอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Almond and Verba จึงได้แบ่งวัฒนธรรมการเมือง
แบบผสมออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่ (วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน, 2551, 381)