Page 37 - kpiebook63014
P. 37

36     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






                     พฤติกรรมทางการเมือง


                      ลักษณะของพัฒนาการทางการเมืองในสังคมจะดำาเนินไปในแนวทางใด ปัจจัยสำาคัญประการหนึ่ง
             ในการกำาหนดทิศทางการเมืองในสังคมนั้นคือการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองของพลเมือง สำาหรับ

             สังคมการเมืองความสามารถในการตัดสินใจทางการเมืองสะท้อนระดับความเข้าใจ ความสนใจ และการ

             รับรู้ถึงผลประโยชน์ทางการเมืองโดยพลเมือง อันจะนำาไปสู่การตัดสินใจเลือกทางการเมืองที่มีนัยยะสำาคัญ
             โดยมีพื้นฐานความเข้าใจถึงทางเลือกในเชิงนโยบายต่างๆ ที่บรรดาพรรคการเมืองนำาเสนอในการรณรงค์
             เลือกตั้ง การตัดสินใจเลือกทางการเมืองดังกล่าวจะส่งผลให้พลเมืองสามารถเข้าใจระบบการเมือง เพื่อ

             นำาไปสู่การมีอิทธิพลและความสามารถในการควบคุมบรรดาผู้แทนที่เข้าไปทำางานในระบบการเมืองได้


                      ในทางรัฐศาสตร์ การศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจโดยเฉพาะ
             อย่างยิ่งบรรดานักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวัฒนธรรมการเมืองที่เป็นส่วนในการ

             กล่อมเกลาทางการเมืองของพลเมือง หรือการให้ความสำาคัญกับการถกเถียงทางการเมืองในฐานะที่เป็น
             เงื่อนไขเบื้องต้นของการบรรลุถึงความเข้าใจทางการเมือง งานศึกษาของ Almond and Verba ที่ศึกษาทัศนคติ

             และพฤติกรรมของพลเมืองผ่านแนวคิดวัฒนธรรมการเมือง ยืนยันว่าแบบแผนและสถาบันในระบบการเมือง
             มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรมการเมืองของชาตินั้นๆ ในทางกลับกันวัฒนธรรมนั้นขึ้นอยู่กับ

             สภาพทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ การศึกษาทางวัฒนธรรมมีความสำาคัญอย่างยิ่ง
             ต่อกระบวนการทำาให้เป็นประชาธิปไตย ด้วยความพยายามระบุว่าวัฒนธรรมการเมืองแบบใดที่จะส่งเสริม

             พัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย


                      ปัจจัยสำาคัญของการดำารงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยคือการมีวัฒนธรรมการเมืองที่สอดคล้องกับ
             โครงสร้างระบอบ สมมติฐานนี้นำาไปสู่การสร้างกรอบการวิเคราะห์เชิงสาเหตุว่าการมีวัฒนธรรมประชาธิปไตย

             เป็นส่วนในการกำาหนดการดำารงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย วัฒนธรรมการเมืองที่สำาคัญของแต่ละ
             ประเทศมาจากทัศนคติของประชาชน ซึ่งได้ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและเป็นทัศนคติที่ฝังราก

             และยั่งยืนอยู่ในสังคม จนกลายเป็นชุดคุณค่าในสังคม วัฒนธรรมการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง คือ
             ลักษณะการกระจาย (distribution) ของความโน้มเอียงทางด้านความรู้ ความรู้สึก และการประเมินค่าต่อ

             วัตถุทางการเมือง (political objects) ที่มีอยู่ในบรรดาสมาชิกของสังคมนั้น (พฤทธิสาณ ชุมพล, 2556, 97)


                      Almond and Verba ใช้แนวทางในการค้นหาความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคล โดยสร้าง
             ตารางแบบความสัมพันธ์ระหว่างความโน้มเอียงทางการเมือง 3 ประเภทโดยวัดจากปัจจัยหลัก 4 ประการ

             คือ (พฤทธิสาณ ชุมพล, 2556, 99-100)


                      1.   บุคคลมีความรู้อะไรเกี่ยวกับประเทศชาติ และ ระบบการเมืองโดยทั่วไป ประวัติศาสตร์
                           ความเป็นมา ขนาด ที่ตั้ง ลักษณะอำานาจ ฯลฯ เขามีความรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งเหล่านี้ และ

                           ประเมินโดยทั่วไปว่าเป็นอย่างไร
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42