Page 34 - kpiebook63014
P. 34
33
1.1 ระบบเขต เสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตหนึ่งคน (Single-Member Districts/ Constituencies
-SMD) เป็นระบบเลือกตั้งที่เข้าใจง่ายต่อทั้งผู้ออกเสียงเลือกตั้งและผู้จัดการเลือกตั้ง
การนับคะแนนรู้ผลแพ้-ชนะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นระบบที่โดยทั่วไปเอื้อให้พรรคการเมือง
จัดตั้งรัฐบาลได้โดยใช้เวลาไม่นานหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง ข้อเสียคือผู้ชนะการเลือกตั้ง
ไม่อาจประกันได้ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนจำานวนมากพอที่จะอ้างความชอบธรรมว่า
มาจากการยอมรับของเสียงส่วนใหญ่จริงๆ หากนำาคะแนนเสียงของผู้ที่ไม่ได้เลือกผู้ชนะ
มารวมกันอาจจะมากกว่าจำานวนคนที่เลือกผู้ชนะก็เป็นได้ นอกจากนั้นระบบนี้ยังเอื้อให้
พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบ จากการแปรคะแนนเสียงให้เป็นที่นั่งในสภา (สิริพรรณ,
2516, 39-44)
1.2 ระบบเขต เสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตหลายคน (Multi-Member Districts/ Constituencies -
MMD) หรือ บล็อกโหวต (Block/ Bloc Vote) ระบบเลือกตั้งนี้เขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้แทนได้
หลายคน ผู้ออกเสียงเลือกตั้งแต่ละคนสามารถเลือกผู้สมัครได้หลายคน แต่ไม่เกินจำานวน
ของผู้แทนหรือที่นั่งที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น โดยผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถเลือกผู้สมัคร
ที่มาจากพรรคเดียวกันหรือต่างพรรคก็ได้ในจำานวนที่นั่งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ตัดสินกันที่
คะแนนสูงสุดไล่เรียงลำาดับตามจำานวนที่นั่งในเขตเลือกตั้ง ข้อดีของระบบเลือกตั้งนี้คือ
เข้าใจง่าย และเอื้อให้เกิดพรรคการเมืองหลายพรรคสามารถเบียดเข้ามาเป็นผู้แทนได้ แต่
ในขณะเดียวกันระบบนี้ทำาให้เกิดการแปรคะแนนเสียงเป็นที่นั่งมีความเบี่ยงเบนสูงซึ่งทำาให้
พรรคใหญ่ได้เปรียบ และสามารถมีที่นั่งในเขตเลือกตั้งนั้นสูงกว่าคะแนนเสียงที่ได้รับเลือก
จากประชาชน (สิริพรรณ,2561, 45-50)
1.3 ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตหลายคน คะแนนเสียงเดียว ถ่ายโอนคะแนนไม่ได้
(Single Non-Transferable Vote - SNTV) เป็นระบบเขตเลือกตั้งที่หนึ่งเขตมีผู้แทนได้มากกว่า
หนึ่งคน แต่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลงคะแนนได้เพียง 1 เสียงเท่านั้น ผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง
คือผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเรียงตามลำาดับลงมาให้ได้เท่ากับจำานวนผู้แทนที่เขตเลือกตั้งนั้น
พึงมี ระบบเลือกตั้งแบบนี้เป็นหลักประกันให้คนกลุ่มน้อยสามารถเข้ามาเป็นตัวแทนใน
เขตนั้นๆ ได้ เพราะคะแนนเสียง 1 ใน 5 ก็อาจทำาให้ผู้สมัครชนะการเลือกตั้งได้ ระบบ
เลือกตั้งแบบนี้จึงออกแบบมาเพื่อท้าทายการวางกลยุทธ์ของพรรคการเมืองในการส่ง
ผู้สมัครแข่งขันเลือกตั้งเพื่อให้พรรคชนะที่นั่งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ข้อด้อยของ
ระบบนี้คือ การที่พรรคการเมืองที่มีชื่อเสียง สามารถสร้างระบบเครือข่ายอุปถัมภ์ในเขต
เลือกตั้งและนำาไปสู่การเอื้อให้นักการเมืองในพรรคนั้นสามารถชนะการเลือกตั้งได้ง่าย
(สิริพรรณ, 2561, 50-53)
1.4 ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา จำากัดจำานวนการลงคะแนนเสียง (Limited Vote - LV) ระบบนี้
ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แต่ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถลงคะแนนได้
มากกว่า 1 คะแนน แต่น้อยกว่าจำานวนผู้แทนที่เขตเลือกตั้งนั้นพึงมี เช่น ในเขตเลือกตั้ง