Page 32 - kpiebook63014
P. 32
31
สิทธิในการลงคะแนนเสียงได้ 2 ครั้ง เช่น การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเยอรมันและนิวซีแลนด์ ในวันเลือกตั้ง
ประชาชนไปยังหน่วยเลือกตั้งจะได้รับบัตรลงคะแนนในการใช้เสียงหนึ่งครั้งแรกเพื่อลงคะแนนให้กับ
ผู้แทนในเขตเลือกตั้งของตนหนึ่งที่นั่ง และได้รับบัตรเลือกตั้งอีกหนึ่งใบเพื่อลงคะแนนให้กับพรรคการเมือง
ที่แข่งขันกันในระดับประเทศ ซึ่งระบบที่ให้สิทธิในการออกเสียงมากกว่าหนึ่งเสียงหนึ่งสิทธิไม่จำาเป็น
เสมอไปที่จะเป็นการละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตย (Gallagher and Mitchell,2005, 7)
โครงสร้�งของบัตรลงคะแนนเสียง (Ballot Structure)
บัตรลงคะแนนเสียง เป็นส่วนที่จะทำาให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงได้ทราบว่า จะตัดสินใจ
เลือกพรรค หรือ ผู้สมัครผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้งยังเป็นส่วนสำาคัญ
ในการเป็นเครื่องยืนยันถึงความโปร่งใส และคะแนนต่างๆ ที่มีต่อนักการเมือง พรรคการเมือง รวมถึง
หัวหน้าพรรคการเมืองเหล่านั้น
งานศึกษาของ Douglas Rea เป็นคนแรกที่จัดประเภทของบัตรเลือกตั้งออกเป็น 2 แบบคือ
(อ้างใน Gallagher and Mitchell,2005, 7) (1) บัตรเลือกตั้งแบบ nominal คือระบบบัตรเลือกตั้งที่ให้
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครเพียงหนึ่งคนและจากหนึ่งพรรคการเมืองเท่านั้น (2) บัตรเลือกตั้งแบบ
ordinal คือระบบบัตรเลือกตั้งที่ผู้ลงคะแนนเสียงสามารถจัดลำาดับผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ลงแข่งขัน
เลือกตั้ง ประเด็นของการจัดแบ่งระบบบัตรเลือกตั้งเช่นนี้คือ หากมีระบบบัตรที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง
สามารถเลือกพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรคโดยไม่จำาเป็นต้องจัดลำาดับว่าชอบใครก่อนหลัง ซึ่งทำาให้
ระบบบัตรเลือกตั้งของ Rea ไม่สามารถจัดประเภทของระบบบัตรเลือกตั้งเช่นนี้ได้
งานศึกษาของสิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2561, 137-142) ศึกษารวบรวมโครงสร้างของบัตรเลือกตั้ง
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท
1. บัตรเลือกตั้งที่เน้นผู้สมัคร (candidate-ballots) เป็นระบบบัตรเลือกตั้งที่ใช้ในระบบเลือกตั้ง
แบบเขต ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งเขตหนึ่งคน หรือหนึ่งเขตหลายคน ซึ่งเน้นคุณสมบัติส่วนบุคคล
บัตรเลือกตั้งประเภทนี้นอกจากระบุคุณสมบัติผู้สมัครแล้ว ยังสามารถใช้ได้หลายรูปแบบ
เพื่อสนองตอบต่อผู้ลงคะแนนเสียง เช่น การใช้ภาพแทนตัวอักษรที่ระบุชื่อผู้สมัคร สำาหรับ
ผู้ลงคะแนนเสียงที่อ่านหนังสือไม่ออก
2. บัตรเลือกตั้งที่ให้จัดลำาดับผู้สมัคร (preference-ballots) เป็นระบบบัตรเลือกตั้งที่ใช้เพื่อ
จัดลำาดับความชอบโดยผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่ใช่การจัดลำาดับโดยพรรคการเมือง
รวมถึงใช้ในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (open list) เพื่อให้ผู้สมัครในพรรคเดียวกันแข่งขัน
กันเพื่อให้ชื่อตนเองเบียดแทรกเข้ามาอยู่ในความสนใจของประชาชน
3. บัตรเลือกตั้งที่เน้นพรรคการเมือง (party ballot) ใช้กับระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน บัญชี
รายชื่อแบบปิด (closed-list) ไม่เน้นให้เลือกที่ตัวผู้สมัคร แต่ต้องการให้ผู้มีสิทธิออกเสียง