Page 27 - kpiebook63014
P. 27
26 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
3. การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม
เป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาท
เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในช่วงก่อน
การเลือกตั้ง ช่วงการเลือกตั้ง และช่วงหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงบรรยากาศทั่วไป ความรู้ความเข้าใจ และความเคลื่อนไหวของประชาชน คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมืองและนักการเมืองในพื้นที่ องค์กรเอกชน องค์กร
สาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. ทราบถึงบทบาทและการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับต่างๆ รวมถึงปัญหา
อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3. ทราบถึงพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงาน
ภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. ทราบถึงแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร