Page 22 - kpiebook63014
P. 22
21
บทที่ 1
ความส�าคัญของการศึกษา
การเลือกตั้งเป็นกลไกหนึ่งที่สะท้อนนัยการเปลี่ยนผ่านอำานาจที่ได้รับการรองรับด้วยความ
ชอบธรรม (legitimate) ดังที่เกษียร เตชะพีระ (2551, 102) ได้เปรียบเปรยได้อย่างเป็นรูปธรรมว่า
“ถ้าเปรียบเป็นชีวิตคู่ แง่มุมการได้มาซึ่งอ�านาจก็เหมือนกับวิธีได้เมียมา ขณะที่แง่มุมการใช้อ�านาจ
ก็เหมือนกับวิธีที่ผู้เป็นสามีปฏิบัติต่อเมียหลังจากนั้น… แน่นอนการเข้าตามตรอกออกตามประตู
เกี้ยวพาราสีชนะใจเจ้าสาว สู่ขอจ่ายสินสอดทองหมั้นตามประเพณีย่อมดีกว่า ชอบธรรมกว่าการฉุดคร่า
ข่มขืน เหมือนชนะการเลือกตั้งย่อมดีกว่า ชอบธรรมกว่ายึดอ�านาจด้วยการรัฐประหาร แต่ต่อให้สู่ขอแต่งงาน
กันตามประเพณีก็ตามที หากอยู่ด้วยกันแล้วพ่อเจ้าประคุณสามีซ้อมเช้าซ้อมเย็น เถียงก็ตบ ขัดใจก็เตะ
สินสมรสนึกจะริบไปใช้คนเดียวก็ริบ เอะอะอะไรก็ตะคอกถามว่ามึงท�าอย่างนี้ใช่เมียกูหรือเปล่า? หวาดระแวง
ว่านอกใจฝักใฝ่ชายชู้อยู่เสมอ เผลอๆ ก็คว้าไม้กอล์ฟมาฟาดเอาๆ จนปางตาย แบบนี้ต่อให้ได้เมียมา
โดยการสู่ขอตามประเพณี แต่ก็ถือว่าเป็นสามีที่สอบตก เลวร้ายและอันตรายอย่างยิ่ง”
ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี 2548 นำาไปสู่การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน
2549 และยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง
ยับยั้งและตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก สภาพสังคมไทยภายใต้คณะรัฐประหารซึ่งได้แต่งตั้ง
รัฐบาลชั่วคราว ดำาเนินการร่างรัฐธรรมนูญและประกาศใช้ในปี 2550 โดยมีบรรยากาศการเลือกตั้งใน
ปี 2554 ที่กลายเป็นรัฐบาลชุดล่าสุดที่มาจากการเลือกตั้ง และหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว สังคมไทยเผชิญกับปรากฏการณ์ทางการเมืองทั้งการ
ยุบพรรค การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และรวมถึงการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
จนส่งผลให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปได้เสร็จทันเวลาที่กฎหมายกำาหนด สภาวะที่สับสนในสังคม
การเมืองไทย กลายเป็นข้ออ้างในการทำาให้สังคมกลับเข้าสู่ระเบียบอีกครั้งด้วยการรัฐประหารในวันที่
22 พฤษภาคม 2557