Page 25 - kpiebook63014
P. 25

24     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์





             ขอบเขตของการศึกษา



                      1. ขอบเขตด้านเวลา


                        ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง

             ช่วงระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลัง
             จากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดสุรินทร์


                      2. ขอบเขตประชากร


                        ประชากรที่ทำาการศึกษาได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กร

             อิสระ องค์กรสาธารณะ สื่อมวลชน และองค์กรอื่นๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ในระดับเขตจังหวัดสุรินทร์
             ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน


                      3  ขอบเขตพื้นที่


                        เขตเลือกตั้งในจังหวัดสุรินทร์


                      4. ขอบเขตเนื้อหา


                        4.1 การตั้งมั่นของความเป็นพรรคการเมือง


                         1)   ศึกษาการแข่งขันทางการเมือง โครงสร้างของตระกูลการเมือง หรือเครือข่ายทาง
                              การเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสังกัดพรรคการเมืองจากการ

                              เลือกตั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาหรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลง อะไรคือปัจจัยที่ทำาให้เกิด
                              การเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง โปรดระบุสาเหตุที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                              หรือเครือข่ายการเมืองเดิมยังคงอยู่ในพรรคการเมืองเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง

                         2)   การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายทางการเมือง
                              มีผลต่อรูปแบบการแพ้ชนะ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร หากไม่มี อะไรคือ

                              ปัจจัยที่ทำาให้ผลของการเลือกตั้งออกมาในรูปแบบนั้น

                         3)   การเลือกตั้งระบบใหม่ที่เป็นแบบบัตรใบเดียวที่บีบคั้นให้คนต้องเลือกคนหรือเลือก

                              พรรคการเมือง มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร
                              ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งใช้ปัจจัยอะไรมากำาหนดให้ตนเลือกพรรค หรือเลือกผู้สมัคร
                              รับเลือกตั้งคนไหน อย่างไร


                         4)   สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำาให้
                              ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไปจาก
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30