Page 24 - kpiebook63014
P. 24

23








                          การเลือกตั้งในปี 2562 นอกเหนือจากโครงสร้างอำานาจและกติกาต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

                  ในการเลือกตั้ง 2562 ยังมีระบบเลือกตั้งที่ถูกคิดค้นในรูปแบบที่เรียกว่า “ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรร
                  ปันส่วนผสม” ซึ่งถูกน�ามาใช้เป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้ ก�าหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

                  จ�านวน 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจ�านวน 350 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
                  การเลือกตั้งครั้งนี้จะใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวเพื่อเลือกบุคคลที่ชื่นชอบเป็น ส.ส.เขต ขณะเดียวกันคะแนนที่

                  เราเลือกบุคคลที่ชื่นชอบในเขตของเรา (ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้) คะแนนจะถูกน�าไปให้พรรคของคนที่เราเลือก
                  สังกัดอยู่เพื่อน�าไปค�านวณจ�านวนที่นั่ง ส.ส. สังกัดแบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ซึ่งจะมีผลต่ออ�านาจ

                  และบทบาทของผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง (ilaw, 2561)


                          ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ยังมาพร้อมกับประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง
                  เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งประกาศเผยแพร่ใน

                  ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 โดยจังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งใน 11 จังหวัดที่มีสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรลดลงเนื่องจากการรวมเขตเลือกตั้งจากเดิม 8 เขต เหลือเพียง 7 เขต เขตเลือกตั้งที่

                  ลดจำานวนลงย่อมส่งผลต่อความเข้มข้นของการช่วงชิงที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                  ซึ่งท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษได้

                  หรือไม่ และจะทำาให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่มีคุณภาพได้หรือไม่ จะทำาให้การปฏิรูป
                  การเมืองเกิดขึ้นจริงหรือไม่ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

                  ประชาชนมีการเรียนรู้ทางการเมืองมากขึ้นหรือไม่ และภายใต้กรอบกติกาใหม่นี้ ผลของการเลือกตั้ง
                  ยังจะยืนยันความตั้งมั่นของระบบพรรคการเมือง หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมืองบางพรรคที่เคย

                  ก่อร่างสร้างตัวมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่

                          จังหวัดสุรินทร์ จึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความน่าสนใจในการทำาการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

                  ทางการเมืองในระดับพื้นที่ เพื่อการทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมือง กติกาใหม่ทางการเมือง ซึ่งมี

                  ความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป



                  วัตถุประสงค์



                          1. เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมือง ขององค์กรและกลุ่ม

                  ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์


                          2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์


                          3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง ของ

                  ประชาชนและกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29