Page 26 - kpiebook63014
P. 26

25








                                   การเลือกตั้งครั้งที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็น

                                   พรรคการเมือง หรือความนิยมในพรรคการเมือง ยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทย
                                   ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด



                            4.2  พฤติกรรมการเลือกตั้ง


                                เป็นการศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ในทุกประเด็น เช่น การเลือกตั้งในครั้งนี้มี
                  ความเหมือนหรือแตกต่างจากการเลือกตั้งที่เคยผ่านมาในพื้นที่หรือไม่ มีประเด็นใดบ้าง มีการเปลี่ยนแปลง

                  ที่สำาคัญในเรื่องใด  และส่งผลกระทบสำาคัญในเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร นอกจากนี้ยังศึกษา

                  ความแตกต่างหลากหลาย (Diversity) ของผู้สมัคร ในมิติความหลากหลายทางเพศ ชาติพันธุ์ ลักษณะ
                  ทางกายภาพ (พิการ) และการทำางานในพื้นที่ รวมถึงการแข่งขันทางการเมืองทั้งในส่วนที่สามารถเห็นได้
                  ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียง กลยุทธ์ วิธีการ การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจนการแข่งขันในส่วนที่ปิดบัง

                  เช่น การซื้อเสียง การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน การแทรกแซงด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้น






                  วิธีการศึกษาวิจัย



                          อาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ได้แก่


                          1. เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่


                            กรอบของกฎหมาย เช่น  ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของ

                  คณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ
                  บทบาทของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560


                            ข้อมูลเชิงพื้นที่ในจังหวัดที่กำาหนด เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัคร

                  รับเลือกตั้งในจังหวัดที่กำาหนดทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติ
                  ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและ
                  ระดับท้องถิ่น และผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้งในเขตจังหวัดที่กำาหนด


                          2. การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง


                            โดยมีการลงพื้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหาร

                  ส่วนจังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้จัดการการเลือกตั้ง กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
                  และประชาชน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31