Page 31 - kpiebook63014
P. 31

30     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             ที่ลึกซึ้งกว่าการเลือกตั้ง กล่าวคือ การเลือกตั้งจะยึดโยงกับการพัฒนารากฐานพัฒนาการทางการเมือง

             ไปสู่ระบอบการเมืองที่ตั้งมั่น ประการที่สอง การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่นำาไปสู่การกำาหนดความเป็น
             ผู้นำา หมายความว่าการเลือกตั้งอาจนำาไปสู่ความต่อเนื่องหรือการเปลี่ยนแปลงผู้นำา ประการที่สาม แม้แต่

             การเลือกตั้งที่มีรอยด่างพร้อยก็ยังนับว่ามีคุณค่าในฐานะการสร้างชุดคุณค่าของสถาบันทางการเมืองใน
             สังคมนั้นๆ เพื่อพัฒนาให้เกิดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมตามหลักการประชาธิปไตย


                      วิธีการที่ใช้ในการเลือกผู้แทนจึงมีความสำาคัญว่าจะนำาไปสู่การที่ได้คนที่จะเข้าไปทำาหน้าที่

             สาธารณะแทนประชาชนที่ตอบสนองความต้องการและข้อเรียกร้องของประโยชน์สาธารณะได้มากน้อย
             เพียงใด  การศึกษา “ระบบการเลือกตั้ง”(electoral systems) จึงมีความสำาคัญ เพราะระบบการเลือกตั้งคือ

             ชุดของกฎเกณฑ์ กติกา ที่ใช้ในการกำาหนดวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง รวมถึงการคำานวณที่นั่งสำาหรับ
             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                      การเลือกตั้งของสังคมไทยในปี 2562 ประเด็นระบบการเลือกตั้งเป็นประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมา
             อภิปรายกันอย่างมากว่า จะนำาไปสู่ระบบการเมืองไทยในอนาคตอย่างไร ดังนั้นจึงควรมีการทำาความ

             เข้าใจในหลักการและแนวคิดระบบการเลือกตั้งที่มีการใช้ในบริบทสากล เพื่อนำาไปสู่การวิเคราะห์ระบบ

             การเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือกตั้งปี 2562 ของสังคมไทยต่อไป

                      ในการพิจารณาระบบเลือกตั้ง นอกเหนือจากระบบการเลือกตั้งที่จะกล่าวถึงในรายละเอียดแล้ว

             ภายใต้ระบบการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทั่วโลก ยังมีมิติขององค์ประกอบอื่นๆ ที่ต้องนำามาประกอบ
             การพิจารณาในระบบการเลือกตั้งด้วยดังต่อไปนี้


                      จำ�นวนผู้แทนที่พึงมีในเขตเลือกตั้ง (District magnitude)


                      นอกเหนือจากประเภทของระบบการเลือกตั้ง สิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันคือ ตรรกะในการคำานวณ

             ที่นั่งของผู้แทนในแต่ละเขตเลือกตั้ง ตรรกะในการคิดจำานวนผู้แทนที่พึงมีในเขตเลือกตั้งมีความสำาคัญ
             เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบการเลือกตั้งทั้งระบบและส่งผลกระทบไปสู่การเมืองในระดับ

             ประเทศด้วย จำานวนผู้แทนที่พึงมีในเขตเลือกตั้งขึ้นอยู่กับระบบการเลือกตั้งด้วย เช่น ระบบหนึ่งเขตหนึ่งคน
             ระบบหนึ่งเขตหลายคน อย่างไรก็ตามจำานวนผู้แทนที่พึงมีในเขตเลือกตั้งในประเทศที่มีระบบการจัดสรร

             ที่นั่งของผู้แทนแบบเดียวจะไม่มีประเด็นในเรื่องการคิดคำานวณ แต่ในประเทศที่มีระบบการคำานวณที่นั่ง
             ผู้แทนประชาชนหลายชั้น จะยิ่งทำาให้การจัดสรรที่นั่งของผู้แทนประชาชนยิ่งมีความซับซ้อน (Gallagher

             and Mitchell,2005, 6)


                      ก�รคำ�นวณคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


                      ในระบบการเลือกตั้งสากล “หนึ่งเสียงหนึ่งสิทธิ” คือวิธีที่ใช้ในการคำานวณคะแนนเสียงโดยเฉพาะ
             อย่างยิ่งในประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามยังคงพบว่ามีการให้สิทธิแก่ประชาชน

             ที่มากกว่า “หนึ่งเสียงหนึ่งสิทธิ” ดังปรากฏในระบบการเลือกตั้งแบบ Mixed systems ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36