Page 33 - kpiebook63014
P. 33
32 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
เลือกพรรค บัตรเลือกตั้งแบบนี้อาจจะปรากฏเพียงชื่อพรรคการเมืองและเลขประจำา
พรรคการเมืองเท่านั้น หรือในบางแห่งอาจมีชื่อผู้สมัครของพรรคในเขตเลือกตั้งนั้นๆ
เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง
4. บัตรเลือกตั้งแบบผสม (combined or mixed ballot) ระบบบัตรเลือกตั้งที่ผสมให้ผู้มีสิทธิ
ออกเสียงเลือกตั้งเลือกทั้งตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองไปพร้อมๆ กัน โดยทั่วไปจะมี
บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อให้โอกาสผู้ออกเสียงเลือกตั้งตัดสินใจได้อย่างอิสระ และสามารถ
แสดงเจตจำานงทั้งในการเลือกพรรคและเลือกตัวบุคคล
ประเภทของระบบเลือกตั้ง
ประเภทของระบบการเลือกตั้งสามารถแบ่งได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับนักวิชาการแต่ละท่านว่าจะ
อภิปรายการแบ่งประเทศด้วยเกณฑ์อะไร ระบบการเลือกตั้งสามารถแบ่งออกได้หลายวิธี แต่การแบ่งแบบ
ใหญ่ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ (Shahandashti, 2016, Gallagher and Mitchell, 2005)
1. ระบบการเลือกตั้งที่ออกแบบมาเพื่อสร้างตัวแทนในเขตเลือกตั้งแบบเป็นผู้ชนะหนึ่งราย
หรือมีผู้ชนะหลายราย โดยใช้กลไกแบบคะแนนเสียงข้างมาก (majority voters) เช่น ระบบ
ที่เรียกว่า Winner take all คือ ผู้ชนะแล้วได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล โดยไม่ต้องคำานึง
ถึงสัดส่วนของพรรคที่เป็นรองที่ได้ที่นั่งในแต่ละเขตการเลือกตั้ง เช่น ระบบการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ระบบผู้ชนะการเลือกตั้งในแต่ละเขตการเลือกตั้ง เพื่อ
มาพิจารณาว่าพรรคการเมืองใดมีเสียงข้างมาก หรือสามารถรวบรวมเสียงข้างมาก
เพื่อจัดตั้งรัฐบาล
2. ระบบผสมผสาน คือระบบการเลือกตั้งที่ผสมระหว่างการใช้กลไกแบบเสียงข้างมาก
ในการเลือกผู้แทน กับการใช้ระบบบัญชีรายชื่อเพื่อคัดเลือกผู้แทนอีกกลุ่มหนึ่ง ระบบ
การเลือกตั้งประเภทนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
งานศึกษาของสิริพรรณ นกสวน สวัสดี ทำาการศึกษาระบบการเลือกตั้งที่เสนอโดยนักวิชาการ
ได้สังเคราะห์ว่าภายใต้ระบบการเลือกตั้งที่เสนอมานั้น มีหลักการสำาคัญที่ใช้ในการกำาหนดการเลือกตั้งดังนี้
(1) การใช้วิธีการชี้ขาดผู้ชนะและกระบวนการเลือกตั้งเป็นเกณฑ์ (2) การใช้จำานวนที่นั่งที่มีได้ในเขตเลือก
ตั้งเป็นเครื่องมือแยกแยะความแตกต่าง นอกจากนั้นสิริพรรณยังได้จัดแบ่งระบบการเลือกตั้งออกเป็น 4
กลุ่มใหญ่ๆ เพื่อง่ายต่อการทำาความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาระบบเลือกตั้งในประเทศไทย
(2561,38-39)
1. ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้�งม�กธรรมด� (Plurality Electoral System หรือ First Past
the Post) เป็นระบบที่คัดเลือกผู้ชนะในการเลือกตั้งโดยมาจากคะแนนที่ผู้สมัครนั้นได้คะแนนเสียง
มากที่สุด ไม่ว่าจะได้คะแนนเท่าใดก็ตาม และไม่จำาเป็นต้องได้คะแนนเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งด้วย เป็น
ระบบการเลือกตั้งที่เข้าใจง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับระบบการเลือกตั้งอื่น สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ