Page 35 - kpiebook63014
P. 35
34 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
ที่มีผู้แทนได้ 4 คน อาจกำาหนดให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมี 2 เสียง ผู้ชนะคือคนที่ได้รับคะแนน
เสียงมากที่สุดไล่เรียงตามลำาดับ ระบบนี้ทำาให้ผู้ออกเสียงมีอิสระมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้มี
คะแนนจำากัดเพียงคะแนนเดียว และสามารถเลือกคนที่ชื่นชอบแม้จะไม่ใช่นักการเมืองใน
สังกัดพรรคที่ต้องการเลือกก็ตาม พรรคการเมืองที่ลงสมัครในแต่ละเขตจะจัดเตรียมบัญชี
รายชื่อผู้สมัครให้กับผู้มีสิทธิได้เลือก โดยระบบการเลือกตั้งแบบนี้ต้องกำาหนดร่วมกันว่า
ในแต่ละเขตที่ใช้ระบบการเลือกตั้งนี้จะให้ที่นั่งแก่พรรคที่ได้คะแนนมากที่สุดกี่ที่นั่ง พรรคที่ได้
คะแนนรองลงมากี่ที่นั่ง บางครั้งจึงเรียกระบบนี้ว่า “ระบบจำากัดจำานวนโหวตแบบลงคะแนน
ให้พรรคการเมือง”(Party limited vote) ระบบนี้ไม่พบเห็นบ่อยนัก ประเทศที่เคยใช้ระบบนี้
มายาวนานในอดีตคือประเทศสเปนในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 (สิริพรรณ, 2561, 53-55)
1.5 บล็อกโหวตพรรคการเมือง (Party Block Vote-PBV) เป็นระบบที่เลือก 1 เบอร์ได้ทั้ง
พรรค ผู้เลือกตั้งจะมีเพียง 1 คะแนนเสียงเท่านั้น การเลือกจะเป็นการลงคะแนนเพื่อเลือก
พรรคการเมือง พรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดได้ที่นั่งทั้งหมดไป โดยที่พรรคที่ชนะอาจได้
คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 50 ก็ได้ เป็นระบบเลือกตั้งที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ในโลกมากนัก
ประเทศที่เคยใช้ระบบนี้ เช่น แคเมอรูน ชาด และสิงคโปร์ เป็นต้น (สิริพรรณ, 2561, 56)
2. ระบบเลือกตั้งแบบเขต เสียงข้�งม�กเด็ดข�ด (Majority Electoral System)
เป้าหมายของระบบการเลือกตั้งนี้คือการให้ผู้ชนะมีความชอบธรรมในการเป็นตัวแทนของ
ผู้เลือกตั้งเสียงข้างมากจริงๆ จึงมีการกำาหนดว่าผู้ชนะจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่ง (50% ขึ้นไป)
จึงจะถือว่าเป็นตัวแทนในเขตนั้นๆ ถือว่าเป็นผู้ชนะเด็ดขาดเพราะแม้จะรวมคะแนนเสียงของผู้สมัคร
คนอื่นๆ รวมกัน ก็ยังน้อยกว่าผู้ชนะอยู่ดี ระบบนี้โดยทั่วไปแต่ละเขตจะมีตัวแทนได้ 1 คน ผู้ชนะจะต้อง
ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (50%+1) เพื่อให้ผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่และมี
ความชอบธรรมในการทำาหน้าที่ (สิริพรรณ, 2561, 57)
การกำาหนดให้ผู้ชนะการเลือกตั้งต้องได้เสียงข้างมาก อาจไม่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งทุกครั้ง
ซึ่งระบบนี้มีวิธีแก้ให้ได้ผู้ชนะที่ต้องได้เสียงข้างมากใน 2 แบบ
1. ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก 2 รอบ หรือการเลือกตั้งหลายครั้ง (Two-Round
System/ Exhaustive ballot) หากการเลือกตั้งในเขตนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้สมัครคนใดได้รับ
เสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ จะมีการใช้ระบบการเลือกตั้งสองรอบ ที่ต้องดำาเนินการภายใน
หนึ่งสัปดาห์หลังจากการเลือกตั้งครั้งแรก ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดจึงจะเป็น
ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งรอบสองต้องเป็นไปตามกฎหมายการเลือกตั้งที่
แต่ละประเทศกำาหนด