Page 36 - kpiebook63014
P. 36

35








                          2.  ระบบจัดลำาดับความชอบ (Alternative Vote - AV) ให้ความสำาคัญกับ “นำ้าหนักความ

                               พึงพอใจ” ที่ผู้เลือกตั้งมีต่อผู้สมัครแต่ละคน ระบบการเลือกตั้งนี้จะมีผู้ชนะเพียงคนเดียว
                               ซึ่งจะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงเลือกตั้ง จึงถือว่าเป็นระบบเสียง

                               ข้างมากแบบเด็ดขาด หากการเลือกตั้งในรอบแรกไม่มีผู้ชนะเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาเลือกตั้ง
                               จะมีการนับคะแนนรอบ 2 โดยคะแนนผู้สมัครที่ได้ตำ่าสุดจะถูกตัดออกไป และนำาบัตรเลือกตั้ง

                               ของผู้สมัครที่ได้คะแนนตำ่าสุดมาดูว่าเลือกใครเป็นอันดับที่ 2 ก็จะโอนคะแนนให้ผู้สมัครที่
                               ถูกเลือกเป็นลำาดับที่ 2 ต่อไป ซึ่งจะดำาเนินกระบวนการและหลักการเช่นนี้จนกว่าจะมีผู้ชนะ

                               ที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ข้อดีของระบบนี้คือตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งมีความ
                               ชอบธรรมสูงและการซื้อเสียงจะทำาได้ยากขึ้น เพราะผู้ชนะการเลือกตั้งต้องได้คะแนนสูง

                               และโอกาสที่แต่ละคนจะจัดลำาดับความชอบเหมือนกันเป็นไปได้น้อย ข้อเสียของระบบนี้
                               คือ หากมีการเลือกตั้งรอบที่ 2 หรือ 3 จะต้องอาศัยการนับคะแนนที่ต้องใช้ระยะเวลานาน

                               ซึ่งทำาให้การประกาศผลการเลือกตั้งล่าช้าออกไป (สิริพรรณ,2561, 59-63)





                          3. ระบบก�รเลือกตั้งแบบสัดส่วน หรือระบบบัญชีร�ยชื่อ (Proportional Representation)


                          ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน เป็นการที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรคการเมือง
                  โดยตรง มากกว่าจะเป็นการเลือกตัวบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง พรรคการเมืองจะ

                  ได้รับการจัดสรรที่นั่งตามสัดส่วนของคะแนนที่ประชาชนออกเสียงให้พรรคนั้นๆ ระบบเลือกตั้งแบบนี้
                  ออกแบบมาเพื่อให้จำานวนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรคการเมืองสะท้อนคะแนนเสียงที่ประชาชนสนับสนุน

                  พรรคการเมืองนั้นอย่างใกล้เคียงที่สุด เพื่อสะท้อนลึกไปถึงสัดส่วนของนโยบาย อุดมการณ์ และความเห็น
                  ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง นอกจากนั้นระบบเลือกตั้งแบบนี้ยังเปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็กสามารถมีตัวแทน

                  ของตนที่ได้รับเลือกตั้งหากไม่มีการกำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่า รวมทั้งยังเป็นระบบที่อาจทำาให้ไม่สามารถมี
                  พรรคการเมืองเดียวได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในสภา ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดลักษณะ

                  ของเบี้ยหัวแตกที่คะแนนกระจายไปยังพรรคการเมืองต่างๆ จนทำาให้การเมืองขาดเสถียรภาพ โดยการ
                  กำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่า (threshold) เพื่อเป็นด่านกั้นพรรคการเมืองขนาดเล็ก ระบบการเลือกตั้งนี้ได้รับ

                  ความนิยมนำาไปใช้ในหลายประเทศ เพราะเป็นระบบที่เปลี่ยนคะแนนเสียงของประชาชนเป็นที่นั่งในสภา
                  ที่มีความเป็นธรรม และระบบเลือกตั้งนี้ส่งเสริมให้เกิดความสร้างสรรค์ของนโยบายและแข่งขันกันด้วย

                  จุดยืนของพรรคมากกว่าตัวบุคคล การนำาระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนมาใช้จึงสัมพันธ์กับปัจจัย
                  4 ประการ คือ จำานวนที่นั่งในเขตเลือกตั้ง สูตรการคำานวณ เกณฑ์ขั้นตำ่า และการจัดลำาดับผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                  (สิริพรรณ, 2561, 64-67)
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41