Page 41 - kpiebook63014
P. 41
40 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
การกล่อมเกลาทางการเมืองในวัยผู้ใหญ่
(political socialization)
การศึกษากระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ในทศวรรษ
ที่ 1950 จากการสังเกตรูปแบบและแบบแผนของพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคม กระบวนการ
กล่อมเกลาทางสังคมเป็นการเรียนรู้แบบแผนทางสังคมที่สอดคล้องกับตำาแหน่งของบุคคลนั้นๆ ผ่าน
สื่อกลางที่มีองค์ประกอบหลากหลายในสังคม การกล่อมเกลาทางสังคมจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งที่เป็น
ทางการและไม่เป็นทางการจากประสบการณ์ตลอดช่วงชีวิตของบุคคลอันเป็นผลมาจากการที่บุคลลนั้น
มีปฏิสัมพันธ์กับสถาบันต่างๆ ทั้งครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน เพื่อนร่วมงาน และกลุ่มทางสังคม
อื่นๆ ส่วนการกล่อมเกลาทางการเมืองคือกระบวนการที่บุคคลได้รับจากทิศทางที่ดำารงอยู่ในสังคมที่มีต่อ
การเมืองโดยทั่วไปและต่อระบบการเมืองของสังคมตนเอง
กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง จึงมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ในวัยเยาว์ที่เป็นการเรียนรู้ทั้ง
ทางตรงและทางอ้อมเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและการเมืองผ่านผู้ปกครอง เครือญาติที่ใช้ชีวิตในระบบ
สังคมและการเมือง รวมถึงบริบททางการเมืองในแต่ละสังคมด้วย ที่เป็นส่วนกล่อมเกลาบุคคลในวัยเยาว์
ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมทางกรเมือง การกล่อมเกลาทางการเมืองยังเป็นส่วนหนึ่งของการก่อรูป
อุปนิสัยของบุคคลซึ่งสัมพันธ์กับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทางการเมืองที่นำาไปสู่การออกมาใช้สิทธิ์หรือ
การงดออกเสียง อันนำาไปสู่การรวมกลุ่มชุมชนของผู้คนในสังคมการเมืองนั้นซึ่งมาจากปัจจัยผลประโยชน์
ทางการเมืองหรือการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในช่วงชีวิตของบุคคลนั้น การกล่อมเกลาทางการเมือง
ที่เป็นส่วนของการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้ง เป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนตัวตนของ
บุคคลที่ได้รับจากกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง ดังนั้นการกล่อมเกลาทางการเมืองจึงไม่ใช่เพียง
กระบวนการที่สำาคัญของช่วงชีวิตในวัยเยาว์ เพราะตลอดช่วงชีวิตของบุคคลได้รับการกล่อมเกลาทาง
การเมืองจากตัวกระทำาสังคมที่หลากหลายไม่เว้นแม้แต่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองในวัยผู้ใหญ่อาจแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยด้วยกัน
ได้แก่ กลุ่มทางสังคม (social groupings) กลุ่มทุติยภูมิที่สังกัด ประสบการณ์ทางการเมือง และสื่อมวลชน
กลุ่มทางสังคม (social groupings) หมายถึง กลุ่มฐานะทางสังคมที่มีความเหมือนกัน เช่น ชนชั้น
เดียวกัน ระดับรายได้เดียวกัน ระดับการศึกษาเดียวกัน อาชีพเดียวกัน เชื้อชาติเดียวกัน นับถือศาสนา
เดียวกัน มาจากภูมิภาคเดียวกัน เป็นต้น กล่าวคือ การแสดงออกถึงฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของ
บุคคลซึ่งจะเป็นปัจจัยกำาหนดการเรียนรู้ทางการเมืองของผู้ใหญ่มากทีเดียว เพราะบุคคลมักจะคบค้า
สมาคมกับคนที่มีฐานเดียวกัน หรือพื้นฐานคล้ายคลึงกัน จึงรับทัศนคติทางการเมืองจากคนที่คบค้าด้วย
การศึกษา มีส่วนในการกล่อมเกลาทางการเมือง รวมทั้งการศึกษาเป็นวิธีการในการแบ่งจำาพวกในสังคม
วิธีหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วคนที่มีการศึกษามากจะมีแนวโน้มที่รู้สึกว่าตนควรเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
รู้สึกมั่นใจว่าตนจะสามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง มีความสนใจทางการเมือง และ