Page 43 - kpiebook63014
P. 43

42     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             มุมหนึ่งของโลกถึงอีกมุมหนึ่ง บทบาทของสื่อมวลชนในการกล่อมเกลาทางการเมืองมีขอบข่ายกว้าง

             ขวาง สามารถประมวลบทบาทคร่าวๆ ได้ดังนี้ (1) สื่อมวลชนในฐานะผู้ส่งทอดข่าวสารท่าทีทางการเมือง
             (2) สื่อมวลชนไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรง หากโดยผ่านผู้นำาความคิดเห็น คือคนกลุ่มหนึ่งที่ให้ความสนใจกับ

             สารทางสื่อมวลชนมากเป็นพิเศษ เช่น ครู ผู้นำาชุมชน ซึ่งจะเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาไปให้แก่ผู้อื่น ผู้นำาความคิด
             มีความสำาคัญมากเพราะมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพื่อนซึ่งมีลักษณะทางสังคมคล้ายคลึงกับเขา เป็นบุคคลใน

             ครอบครัว เป็นเพื่อนสนิท หรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสื่อมวลชนพึ่งครอบครัวและ
             กลุ่มเพื่อนอีกทีหนึ่งในการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยที่เนื้อหาจะถูกตีความและแปรสภาพก่อนที่จะถูก

             ถ่ายทอด (3) บุคคลรับสารจากสื่อมวลชนและตีความสารภายใต้บริบทหรือเงื่อนไขทางสังคมในชีวิตจริง
             คนมิได้รับสารจากสื่อมวลชนโดยตัดขาดจากคนอื่น ตำาแหน่งแห่งที่ทางสังคมนอกจากจะเป็นตัวกำาหนด

             ว่าเขาจะได้รับสารอะไรบ้าง ยังมีอิทธิพลต่อการตีความและต่อปฏิกิริยาของเขาด้วย (4) สื่อมวลชนมี
             แนวโน้มที่จะตอกยำ้าท่าทีทางการเมืองที่มีอยู่เดิมมากกว่าที่จะสร้างท่าทีใหม่ๆ ขึ้น ทั้งนี้เพราะคนเรา

             ให้ความสนใจกับสารที่เขาเห็นด้วยมากกว่าที่ไม่เห็นด้วย เช่น เลือกฟังคำาปราศรัยของพรรคการเมืองที่
             ชื่นชอบอยู่แล้วมากกว่าพรรคการเมืองที่ไม่ชื่นชอบ เป็นต้น (พฤทธิสาณ, 2556, 90-91)



                     ความตั้งมั่นทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย



                      กระแสการเปลี่ยนผ่านการเมืองในหลายๆ รัฐ เป็นปรากฏการณ์ที่ Huntington นักรัฐศาสตร์
             ชาวอเมริกาเรียกว่า การเกิดคลื่นลูกที่ 3 ของประชาธิปไตย (third wave of democracy) ในทัศนะของ

             Huntington คลื่นลูกแรกของประชาธิปไตยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 และในปีแรก
             ของศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศยุโรปจำานวนมากและประเทศในทวีปอเมริกาเหนือเป็นประชาธิปไตย

             ส่วนคลื่นลูกที่ 2 ของประชาธิปไตยเริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศจำานวนมาก
             ซึ่งรวมทั้งอิตาลี ญี่ปุ่น และเยอรมันตะวันออก (ซึ่งเป็นกลุ่มอักษะที่รุกรานประเทศต่างๆ และนำาไปสู่การ

             เกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2) เคลื่อนจากระบอบอำานาจนิยมไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ในส่วนของ
             คลื่นลูกที่ 3 ของประชาธิปไตย เริ่มต้นจากกระบวนการเป็นประชาธิปไตยในประเทศยุโรปใต้ 3 ประเทศ

             คือ กรีซ, โปรตุเกส และสเปน ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ต่อจากนั้นในทศวรรษที่ 1980 และ 1990
             ประเทศในระบอบอำานาจนิยมจำานวนมากทั้งในทวีปละตินอเมริกา, ยุโรปตะวันออก, เอเชีย และแอฟริกา

             ต่างตบเท้าเข้าสู่กระบวนทำาให้เป็นประชาธิปไตย เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบจากรัฐบาลที่ไม่ได้มาจาก
             การเลือกตั้งสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (Haynes, 2005)


                      ระบอบประชาธิปไตยตั้งมั่นที่ปรากฏตัวขึ้น มีบรรดาประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมระดับสูงที่มี

             การพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงด้วย กลุ่มประเทศเหล่านี้มีระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นมา
             ยาวนาน โดยมีคุณลักษณะที่สำาคัญสองประการ (1) democratic institutions การมีสถาบันทางการเมือง

             ที่เป็นประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งที่มาจากประชาชน ระบบพรรคการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเสรี
             และเป็นธรรม และ (2) democratic principles หลักการความเป็นประชาธิปไตย เช่น ประชาชนมีกลไก

             ในการควบคุมการทำางานของรัฐบาล มีความเท่าเทียมกันทางการเมืองของพลเมืองทุกคน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48