Page 47 - kpiebook63014
P. 47

46     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             กับการเลือกตั้ง (Democratically elected regimes) โดยไม่คำานึงถึงชีวิตทางการเมืองหลังการเลือกตั้งของ

             ประชาชนว่าจะเป็นอย่างไร ดังปรากฏในการสำารวจของ Freedom House ระหว่างปี 1996-1997 ที่ครึ่งหนึ่ง
             ของจำานวนประเทศที่กำาลังเป็นประชาธิปไตยให้เสรีภาพทางการเมือง (ให้สิทธิการเลือกตั้ง) มากกว่า

             เสรีภาพของพลเมือง ดังนั้นจึงพบปรากฏการณ์ในประเทศต่างๆ ที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง แต่กลับ
             ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่ละเมิดมิได้โดยรัฐ ผลของ

             การให้ความสำาคัญหรือย่นย่อประชาธิปไตยให้เหลือเพียงการวัดระดับการเป็นประชาธิปไตยที่จำานวน
             ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำาให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ระบบอำานาจนิยมประชาธิปไตย (authoritarian

             democracy) ซึ่งเป็นลักษณะของระบอบประชาธิปไตยที่ผิดแปลกไปจากระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ต้องมี
             องค์ประกอบของทั้ง เสรี+ประชาธิปไตย กล่าวคือ สำาหรับ Zakaria คือ ระบอบการปกครองที่ไม่ได้มีแต่เพียง

             การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมเท่านั้น หากแต่ยังต้องประกอบด้วยหลักนิติรัฐ (rule of law) การแบ่งแยก
             และการคานอำานาจ (checks & balance) และการปกป้องคุ้มครองเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ทั้งในด้าน

             เสรีภาพในการพูด การแสดงออก การชุมนุม การนับถือศาสนา และทรัพย์สินส่วนบุคคล (Zakaria:1997)


                      ในขั้นตอนของการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการอาจนำาไปสู่ระบบประชาธิปไตยแบบไม่เสรีที่เน้น
             การเข้าสู่อำานาจโดยอาศัยกลไกการเลือกตั้งเป็นหลัก โดยขั้นตอนนี้อาจอยู่ยาวนานโดยไม่เกิดขั้นตอน

             ที่สองคือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งมีสาเหตุสามารถสรุปได้ดังนี้

                      1. ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการ แม้จะมีการเลือกตั้งในฐานะรูปธรรมที่แสดงออก

             ซึ่งการเปลี่ยนผ่าน แต่ประชาชนยังคงไม่สามารถมีอิทธิพลทางการเมืองได้ ยกตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐ

             Kazakhstan (Tilly:2007, 1-4) ที่แยกตัวเป็นรัฐเอกราชจากสหภาพโซเวียดในปี 1996 ประธานาธิบดี
             Nursultan Nazarbayev สืบต่ออำานาจได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเปิดให้มีการลงประชามติในระดับ
             ชาติโดยได้รับเสียงสนับสนุนในร่างรัฐธรรมนูญอย่างท่วมท้น รัฐธรรมนูญในมาตราที่ 1 ของสาธารณรัฐ

             คาซัลสถานได้ประกาศหลักการที่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยไว้ 2 ประการ คือ


                      •   สาธารณรัฐ Kazakhstan ประกาศตัวเป็นรัฐประชาธิปไตย รัฐทางโลก (secular) และรัฐทาง
                          กฎหมายและสังคม โดยมีคุณค่าสูงสุดอยู่ที่ปัจเจกบุคคล ชีวิตและสิทธิเสรีภาพของพวกเขา


                      •   หลักการขั้นพื้นฐานที่สำาคัญของการดำาเนินกิจการของรัฐ คือสาธารณะและความมีเสถียรภาพ

                          ทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนใน Kazakhstan


                      หลักการทั้งสองเป็นไปเพื่อความปรองดองในสาธารณะและการสร้างการเมืองที่มีเสถียรภาพ
             แต่ในความเป็นจริง Kazakhstan กลับถูกจัดลำาดับว่าเป็นประเทศ not free จากองค์กร Freedom House

             ด้วยแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 2004 แต่พรรคการเมืองที่เข้าไปนั่งในสภาล้วนเป็นพรรคที่จงรักภักดีต่อ
             ประธานาธิบดี Nazarbayev รวมทั้งยังถูกองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งวิพากษ์

             วิจารณ์ว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานประชาธิปไตย แม้ว่าการเข้าไปสัมพันธ์กับระบบ
             การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะทำาให้ตัวประธานาธิบดี Nazarbayev ไม่ถูกชี้ชัดว่ามีพฤติกรรม
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52