Page 46 - kpiebook63014
P. 46

45








                          1.  ความต้องการที่จะอยู่รอดในระบอบใหม่ของบรรดาผู้นำาในระบอบเก่า กล่าวคือเป็นเรื่องที่

                              เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของชนชั้นนำาอำานาจนิยม (authoritarian elites) ในการเข้าสู่ระบอบ
                              ประชาธิปไตย กระบวนในการปรับตัวนี้ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก ดังนั้น

                              การทำาให้เป็นประชาธิปไตย จึงมีนัยสำาคัญที่หมายถึงการเคลื่อนจากการตัดสินใจนโยบาย
                              สาธารณะของกลุ่มผู้นำาอำานาจนิยมที่มีลักษณะปกปิดปิดลับ สู่การตัดสินใจนโยบายสาธารณะ

                              ที่เปิดให้กลุ่มต่างๆ ตัวแสดงต่างๆ ในการเมืองเข้ามีส่วนกำาหนดนโยบายสาธารณะ


                          2.  ผลกระทบจากความโกลาหลทางการเมือง จากการเปลี่ยนผ่านจากระบอบอำานาจนิยมและ
                              ยังรวมทั้งการต้องจัดระเบียบสถาบันทางการเมืองใหม่ให้สอดรับกับระบอบประชาธิปไตย

                              จึงเท่ากับเป็นการเปลี่ยนสู่ความไม่คุ้นชินทั้งของบรรดาผู้นำาการปกครองและประชาชนทั่วไป
                              หรือหากกล่าวในแง่ทฤษฎีเท่ากับว่าเป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรมการเมืองหนึ่งไปสู่วัฒนธรรม

                              การเมืองอีกแบบหนึ่ง

                          3.  กฎเกณฑ์กติกาในระบอบประชาธิปไตย ดังได้กล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย

                              มีหลักหมายที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ การเลือกตั้งที่นำาไปสู่การมีรัฐบาลใหม่หลังการเปลี่ยน

                              ผ่าน ซึ่งกฎกติกาการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนี้เองที่ทำาให้เกิดความยากลำาบากใน
                              ผลลัพธ์ทางการเมืองในระยะผ่าน เพราะปัญหาในการนิยามว่าใครมีสิทธิอันชอบธรรมใน
                              การเล่นเกมการเมืองนี้บ้าง จะเป็นเพียงชนชั้นนำา ประชาชน พรรคการเมืองที่หลากหลาย

                              หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่จะเข้าเล่นในเกมการเมืองนี้ได้หรือไม่อย่างไร ปัญหาข้อที่ 2 คือ

                              ประเด็นในการกำาหนดมาตรฐานว่าใครจะแพ้หรือชนะในการเล่นเกมการเมืองนี้ กล่าวคือ
                              จะใช้ระบบการเลือกตั้งอย่างไร ปัญหาที่ 3 คือข้อจำากัดในการกำาหนดตำาแหน่งมีส่วนได้
                              ส่วนเสีย


                          ความยากของการเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น คือการแตกหักจากระบอบเดิมของบรรดา

                  ประเทศที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เพราะในห้วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน
                  ในทางการเมืองจะตกอยู่ครึ่งทางของระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นกับระบอบไม่เป็นประชาธิปไตย จึงมี

                  ความเป็นไปได้ว่าห้วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน บางประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตย
                  ที่ตั้งมั่น แต่บางประเทศเปลี่ยนไม่ผ่านและตกอยู่ในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย บ่อยครั้งที่ระบอบของ

                  ประเทศหลังแตกหักกับเผด็จการอำานาจนิยมจะเกิดระบอบพันธุ์ผสมขึ้น ที่มีการเลือกตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาล
                  ที่มีการรวมศูนย์อำานาจไว้


                          การเข้าสู่อำานาจโดยการเลือกตั้ง ที่ไม่อาจเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยได้นั้น สาเหตุสำาคัญเป็น

                  เพราะระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบไม่เสรี มีลักษณะผิดแปลกแตกต่างไปจากลักษณะเสรีประชาธิปไตย
                  ตามตัวแบบของบรรดาประเทศประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นในยุโรปตะวันตกและอเมริกา กล่าวคือในทัศนะของ

                  Fareed Zakaria (1997) เห็นว่าบรรดาประเทศประชาธิปไตยระยะผ่าน หรือ ประเทศประชาธิปไตยในคลื่น
                  ลูกที่ 3 มีลักษณะ Illiberal democracy กล่าวคือการที่ประเทศประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่านให้ความสำาคัญ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51