Page 42 - kpiebook63014
P. 42
41
มีความกระตือรือร้นทางการเมืองมากกว่าคนที่มีการศึกษาน้อย รวมทั้งอิทธิพลของระดับการศึกษาต่อ
พฤติกรรมทางการเมืองนั้น เกี่ยวพันกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ระดับ
รายได้ อาชีพและชนชั้น ที่ยากจะแยกออกจากกัน (พฤทธิสาณ, 2556, 82-83)
กลุ่มทุติยภูมิที่สังกัด หมายถึง กลุ่มที่มีโครงสร้างและกระบวนการที่แน่ชัด เช่น ชนชั้นกรรมาชีพ
เป็นกลุ่มทางสังคม ส่วนสหภาพแรงงานเป็นกลุ่มทุติยภูมิ คนเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มทางสังคม ในขณะที่
สมาคมคนจีนในประเทศไทยเป็นกลุ่มทุติยภูมิ กลุ่มทุติยภูมิมักจะดึงดูดคนที่อยู่ในกลุ่มทางสังคมประเภท
หนึ่งเข้ามาเป็นสมาชิก และตั้งตัวเป็นปากเสียงแทนคนจำาพวกนั้น กลุ่มทุติยภูมิมีอิทธิพลในการกล่อมเกลา
ทางการเมืองต่อตัวบุคคลน้อยกว่ากลุ่มปฐมภูมิ แต่มีเนื้อหาที่จะมีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองมากกว่า
กลุ่มปฐมภูมิ สังคมที่มีความสลับซับซ้อนมีกลุ่มทุติยภูมิ จะมีอิทธิพลในการกล่อมเกลาทางการเมืองมากกว่า
สังคมดั้งเดิมที่มีโครงสร้างง่ายๆ โดยกลุ่มทุติยภูมิแบ่งออกได้ 3 ประเภทตามบทบาทที่มีในการกล่อมเกลา
ทางการเมือง ได้แก่ (1) กลุ่มที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมืองโดยเฉพาะ เช่น พรรคการเมือง
(2) กลุ่มที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่การเมือง แต่มีการให้การศึกษาทางการเมืองตลอดจนการระดม
ทางการเมืองควบคู่ไปกับกิจการอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มอาชีพต่างๆ กลุ่มศาสนา (3) กลุ่มที่ตั้งขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่การเมือง และไม่ทำาการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองอย่างเป็นทางการ หากแต่
บางครั้งทำาโดยไม่รู้ตัว เช่น สมาคมกีฬา เป็นต้น (พฤทธิสาณ, 2556, 83-84)
ประสบการณ์ทางการเมือง การได้สัมผัสกับการเมืองโดยตรงย่อมมีผลต่อการสร้างทัศนคติและ
ค่านิยมทางการเมืองของบุคคล ถึงแม้บุคคลจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกการเมืองจากตัวแทนต่างๆ ในสังคม
ตั้งแต่เยาว์วัย และเมื่อถึงวัยหนุ่มสาวความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองของคนจะเป็นรูปร่างมากพอสมควร
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะได้เรียนรู้การเมืองจากประสบการณ์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงผ่าน
การฟังปราศรัยหรือการโฆษณาชวนเชื่อ การติดต่อหน่วยงานราชการ การเลือกตั้ง การเดินขบวนทาง
การเมือง และการปฏิวัติ ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคคลได้รู้เห็นและสัมผัส และจะมีผลต่อค่านิยม
ความเชื่อทางการเมืองของเขาโดยตรง ประสบการณ์ทางการเมืองโดยตรง เป็นโอกาสที่บุคคลจะได้ทดสอบ
บทเรียนที่ได้เรียนรู้มาโดยอ้อมผ่านตัวแทนต่างๆ กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น นอกจากประสบการณ์ทางการเมือง
โดยตรง ประสบการณ์ในการทำางาน ในการร่วมกิจกรรมทางสังคม การย้ายที่อยู่ การเลื่อนฐานะทางสังคม
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีผลต่อความคิดอ่านทางการเมืองอยู่เป็นประจำา อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์
ทางการเมืองจะมีผลต่อท่าทีทางการเมืองของบุคคลได้มากก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้ให้ความสนใจต่อ
การเมือง และมีผลน้อยต่อคนทั่วๆ ไป ยกเว้นในกรณีพิเศษ เช่น เมื่อมีสงครามกลางเมือง หรือมีอัตรา
การว่างงานหรือค่าครองชีพสูงขึ้นมากโดยทั่วไปทั้งสังคมอันเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกตำ่าอย่างใหญ่หลวง
เป็นต้น (พฤทธิสาณ, 2556, 85-90)
สื่อมวลชน ในสังคมสมัยใหม่สื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทในการกล่อมเกลาทางการเมืองมากขึ้น
เป็นลำาดับ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นตัวการทำาการสื่อสารเกี่ยวกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์
ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นจากรัฐบาลถึงประชาชนหรือจากคนกลุ่มหนึ่งสู่อีกกลุ่มหนึ่ง หรือแม้จาก