Page 40 - kpiebook63014
P. 40
39
วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมไพร่ฟ้า (parochial-subject political culture) เป็นวัฒนธรรม
การเมืองที่พัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง ประชาชนมิได้ยอมรับอำานาจของหัวหน้าเผ่า แต่จะหันมายอมรับการใช้
อำานาจของรัฐบาลกลาง
วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม (subject-participant political culture)
หมายถึง การที่ประชาชนบางส่วนเริ่มสนใจต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่
ยังคงไม่สนใจที่จะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ลักษณะเช่นนี้มักปรากฏในประเทศที่มีระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตยที่ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ
วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมการมีส่วนร่วม (parochial-participant political culture)
เป็นวัฒนธรรมการเมืองที่ปรากฏในสังคมที่มีหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายเผ่า ความรู้สึกภักดีต่อเชื้อชาติ
และเผ่าของตนมีในระดับสูงขณะเดียวกันก็ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อการได้มาซึ่งประโยชน์
เฉพาะเชื้อชาติ เฉพาะกลุ่มให้มากที่สุด ลักษณะวัฒนธรรมการเมืองเช่นนี้มักนำาไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างเชื้อชาติและระหว่างเผ่า
แม้ว่ากรอบคิดวัฒนธรรมการเมืองจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าและการตีความแนวคิดวัฒนธรรม
การเมือง แต่แนวคิดดังกล่าวถูกวิพากษ์ถึงความแม่นยำาและพลังในการทำานายพฤติกรรมทางการเมือง
เช่นข้อวิพากษ์ของ Kaase ที่กล่าวว่าวัฒนธรรมการเมืองเป็นเสมือน “ความพยายามตอกตะปูเจลลี่
ลงบนกำาแพง” กล่าวคือพยายามที่จะให้รายละเอียดที่แน่ชัดกับบางสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น
อย่างแน่นอน แนวคิดที่ไม่มีความแม่นยำาและมักจะกลายเป็นคำาอธิบายอัตวิสัยของประเทศชาติมากกว่า
แนวคิดเชิงประจักษ์ รวมถึงปัญหาสำาคัญคือ หลักฐานของผลกระทบเชิงวัฒนธรรมที่มีความไม่สมำ่าเสมอ
ในแต่ละประเทศ แม้จะถูกจัดว่าพลเมืองมีวัฒนธรรมการเมืองแบบเดียวกัน (Dalton and Klingemann,
2013)
หนังสือ The Civic Culture ซึ่งเขียนโดย Almond and Verba ปรากฏแนวคิดวัฒนธรรมการเมือง
ได้ถูกตีความว่าเป็นเพียงคำารวมๆ (collective term) หรือเป็นเพียงข้อควรปฏิบัติ จึงส่งผลให้การนำาแนวคิด
นี้มาวิเคราะห์จึงมีความไม่ชัดเจนอันนำาไปสู่ข้อจำากัดในคุณค่าของคำาอธิบาย อย่างไรก็ตามกรอบการศึกษา
วัฒนธรรมการเมืองในฐานะการอธิบายพฤติกรรมทางการเมืองยังคงมีความสำาคัญ
นอกเหนือจากวัฒนธรรมการเมืองที่กำาหนดพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคมแล้ว
กระบวนการกล่อมเกลางทางสังคมก็เป็นอีกปัจจัยที่สำาคัญในการกำาหนดทิศทางพฤติกรรมทางการเมือง
ของบุคคล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการกล่อมเกลาทางการเมืองในวัยผู้ใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับงานศึกษา
วิจัยครั้งนี้