Page 38 - kpiebook63014
P. 38

37








                          2.   บุคคลมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง และบทบาททางการเมือง เกี่ยวกับผู้นำาทางการเมือง

                               ทางเลือกทางนโยบาย ที่เข้าสู่ระบบการตัดสินใจทางการเมืองอย่างไรบ้าง เขามีความรู้สึก
                               และทัศนคติต่อโครงสร้าง ผู้นำา และข้อเสนอเหล่านี้ประการใด

                          3.   บุคคลมีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยนำาออกของระบบการเมือง เช่น การบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย

                               โครงสร้างที่กระทำาการนี้ บุคคลที่ทำาหน้าที่ และการตัดสินใจในกระบวนการนี้อย่างไรบ้าง
                               เขามีความรู้สึกและทัศนคติประการใดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้


                          4.   บุคคลมองตัวเขาเองในฐานะสมาชิกของระบบการเมืองอย่างไร เขามีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ
                               ภาระหน้าที่ ตลอดจนช่องทางในการที่เขาจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อนโยบายอย่างไร เขารู้สึกว่า

                               ตัวเขาเองมีประสิทธิภาพทางการเมืองเพียงใด เขายึดถืออะไรเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจ
                               ทางการเมือง

                          กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมการเมืองของประชาชน หมายถึง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมของสมาชิก

                  ในสังคมหนึ่งๆ ที่มีต่อ “การเมือง” วัฒนธรรมการเมืองของแต่ละบุคคลเป็นผลมาจากกระบวนการอบรม
                  กล่อมเกลาทางการเมือง (political socialization process) ในระดับครอบครัว โรงเรียน และสถาบัน

                  การศึกษาในระดับต่างๆ และสถานที่ทำางาน เป็นต้น ดังนั้น กระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง
                  จึงเป็นการที่บุคคลได้รับการสอนให้เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในช่วงชีวิตหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำาหนดทัศนคติ

                  ความเชื่อ ความรู้สึก ค่านิยม และพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลนั้นๆ ซึ่งหมายถึงวัฒนธรรมทาง
                  การเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองนี้เองเป็นปัจจัยสำาคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง

                  ทางการเมือง พัฒนาการทางการเมือง และรูปแบบของระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นอยู่ในแต่ละ
                  ประเทศ รูปแบบการปกครองหรือโครงสร้างของรัฐบาลในแต่ละประเทศจะมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย

                  เผด็จการทหาร หรือเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมนั้น ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของ
                  ประชาชนในประเทศนั้นๆ (วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน, 2551, 379-380)


                          งานศึกษาของ Almond and Verba ได้นำาไปสู่ข้อเสนอในการสร้างตัวแบบในอุดมคติ โดยแบ่ง

                  วัฒนธรรมการเมืองออกเป็น 3 ประเภทดังนี้


                          1.   วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบ (parochial political culture) เมื่อคนในสังคมมีความ
                               โน้มเอียงน้อยมากต่อวัตถุทางการเมือง ทั้งในแง่การรู้จัก ความรู้สึก และการประเมินค่า

                               ไม่ว่าจะเกี่ยวกับระบบการเมืองโดยทั่วไป หรือเกี่ยวกับสถาบัน บุคคลหรือประเด็นนโยบาย
                               กล่าวคือบุคคลแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กับระบบการเมืองเลย โดยไม่คิดว่าการเมือง

                               ระดับชาติที่กระทบเขาได้ และคาดหวังว่าระบบการเมืองระดับชาติจะตอบสนองความ
                               ต้องการของเขาได้ (พฤทธิสาณ, 2556, 101)

                          2.   วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า (subject political culture) เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมรู้จัก

                               สถาบันทางการเมืองเฉพาะอย่าง และมีความรู้สึกต่อสถาบันนั้นทั้งในแง่บวกหรือลบ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43