Page 50 - kpiebook63014
P. 50

49








                          การสร้างระบบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยการสร้างกลไกในเชิงสถาบันที่จะ

                  สนับสนุนชุดคุณค่าประชาธิปไตย การมีสิทธิเสรีภาพที่ให้กับพลเมืองทั้งในทางการเมือง และในพื้นที่
                  สาธารณะในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น รวมทั้งการสร้างพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมือง

                  ที่ตอบสนองความต้องการในชีวิตสาธารณะของพลเมืองได้มากที่สุด เพราะการได้รับการเลือกตั้งเข้ามา
                  ทำาหน้าที่บริหารประเทศไม่ใช่หลักประกันเดียวที่จะบอกได้ว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ยังต้องหมายรวมถึง

                  ภายหลังจากการเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมืองจะสามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงพลังประชาชนภายนอก
                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร ซึ่งผลของการทำาหน้าที่เชื่อมร้อยจะทำาให้พรรคการเมืองสามารถรักษา

                  ฐานเสียงตนและผ่านการเลือกตั้งในหลายๆ รอบในอนาคตได้



                          ระบบอุปถัมภ์


                          ระบบอุปถัมภ์ (Patron-Client Relations) เป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาความสัมพันธ์ทาง

                  สังคมหรือองค์กรทางสังคมที่แตกต่างจากทั้งระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติและระบบความสัมพันธ์
                  แบบองค์การระบบราชการ แนวทางการศึกษาระบบอุปถัมภ์ได้รับความสำาคัญในฐานะที่อธิบายให้เห็น

                  ลักษณะความสัมพันธ์ที่มีหลากหลายระดับที่มีทั้งความเป็นกึ่งสถาบัน ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะหลวมๆ
                  มีลักษณะร่วมกันคือการจัดตั้งโดยเครือข่ายที่มีความซับซ้อนที่เชื่อมโยงกันโดยอาศัยคนกลาง (brokers)

                  มีกลไกทางการเมืองในแบบหลวมๆ ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้รับอุปถัมภ์


                          ระบบอุปถัมภ์เป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับการพัฒนาและกระบวนการสร้างความเป็นประชาธิปไตย
                  ที่ตั้งมั่น รวมทั้งรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์สามารถเปลี่ยนแปลงไปตาม

                  ความเติบโตทางเศรษฐกิจและบริบททางการเมืองในสังคมการเมืองแต่ละแห่งที่มีวัฒนธรรมและระบอบ
                  การเมืองที่แตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง


                          สังคมไทยมีการนำาแนวคิดระบบอุปถัมภ์มาวิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมโดยเริ่มต้น

                  จากงานศึกษาของ ลูเซียน เอ็ม แฮงส์ (Lucian M. Hanks)  ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ร่วมด้วยนักวิชาการ
                  โดยเฉพาะจากสำานักคอร์แนลล์  เช่น  เดวิด วิลสัน(David Wilson) และนักวิชาการท่านอื่นๆ โดยได้ชี้ให้

                  เห็นความจริงข้อหนึ่งว่า  สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการกำาหนดสถานภาพของบุคคลลดหลั่นจากบนมาสู่ล่าง
                  นั่นคือ สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างที่เน้นความแตกต่างระหว่างฐานะตำาแหน่ง ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์

                  ระหว่างผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะตำาแหน่งสูงกว่าและผู้รับอุปถัมภ์ที่มีฐานะตำ่ากว่า  แฮงค์มองว่า โครงสร้างสังคมไทย
                  ประกอบด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งโดยตลอดทั้งสังคม


                          ในทางรัฐศาสตร์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช (อ้างใน ดรุณี เจริญพันธ์, 2544) เห็นว่า ความสัมพันธ์

                  ในระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นเพราะในสังคมมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย ทั้งทางด้านสถานภาพทางสังคม
                  ความมั่งคั่ง และอำานาจ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งบุคคล
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55