Page 55 - kpiebook63014
P. 55

54     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






                      เวียงรัฐ  เนติโพธิ์ (2546) นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ

             เรื่อง “เจ้าพ่อ” ในสังคมการเมืองไทย  สรุปว่า ความหมายของคนที่เป็นเจ้าพ่อที่เรานึกถึงในสังคมไทย
             ครอบคลุมอยู่สองประเด็น นั่นคือ


                      ประเด็นแรก พวกเขาคือผู้มีอำานาจนอกภาครัฐ มีพรรคพวกมากสามารถรวบรวมความจงรักภักดี

             ความนับถือจากคนจำานวนมาก  โดยที่อำานาจและบารมีที่เขามีเกิดขึ้นจากสิทธิพิเศษที่เขาสามารถเข้าถึง
             ผู้มีอำานาจในรัฐและใช้ประโยชน์จากความสามารถเหล่านี้ได้  (ซึ่งจะเรียกว่าเส้นสายหรือคอนเนคชั่นก็ได้)

             พวกเขาสามารถที่จะปะทะ แข่งขัน ต่อรอง ประนีประนอมกับอำานาจรัฐได้อย่างเท่าเทียม มากกว่า หรือ
             บางครั้งอาจจะน้อยกว่า ในขณะที่ประชาชนที่เป็นปัจเจกบุคคลทั่วไปทำาเช่นนั้นไม่ได้  ซึ่งสอดคล้องกับที่

             Joel  Migdal เรียกว่าเป็น strong men (ผู้มีอิทธิพล) ที่นับเป็นอำานาจทางสังคมแบบหนึ่ง


                      ประเด็นที่สอง  มีลักษณะเหมือน godfather หรือหัวหน้าแก๊งมาเฟียหรือองค์กรอาชญากรรม
             คือ ทำาธุรกิจผิดกฎหมาย มีลูกน้องภายใต้การบังคับบัญชามาก ใช้ความรุนแรงเพื่อแสดงอำานาจของตน
             ซึ่งทำาได้โดยใช้ช่องทางที่ระบบราชการอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพเข้ามาแสวงหาประโยชน์


                      เวียงรัฐ  เนติโพธิ์  อธิบายว่า ความหมายของเจ้าพ่อที่สำาคัญที่สุดที่ทำาให้เจ้าพ่อดำารงอยู่ได้

             ในสังคมไทยคือความหมายประการแรก ซึ่งก็คืออำานาจบารมีที่มีเหนือคนจำานวนมากจนสามารถปะทะ
             สังสรรค์กับอำานาจรัฐได้ ภาวการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ภายใต้รัฐที่อ่อนแอ (weak state) ที่ทำาให้อำานาจของ

             ผู้มีอิทธิพล (strong men) ที่อยู่ในภาคสังคมเด่นชัดและเทียบเคียงได้กับอำานาจรัฐ


                      รัฐอ่อนแอ ไม่ได้แปลว่าอำานาจรัฐไม่รวมศูนย์ หรืออุดมการณ์การรัฐไม่เข้มแข็ง (เพราะเวียงรัฐ
             เชื่อว่า รัฐไทยทั้งรวมศูนย์และเข้มแข็งทางอุดมการณ์อย่างยิ่ง) แต่หมายถึงกลไกรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ

             ข้าราชการต้องฉ้อราษฎร์บังหลวง (เพราะเงินไม่พอใช้ หรือเพราะมีช่องทางก็ตาม) รวมถึงการบริหารงาน
             ที่ไม่เป็นระบบ เปิดโอกาสให้ผู้มีอิทธิพลนอกภาครัฐเข้ามาแทรกแซงได้ (เช่นการตำารวจ กระบวนการ

             ยุติธรรม) ในแง่นี้รัฐไทยจึงเป็นรัฐที่อ่อนแออย่างยิ่ง  ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อเนื่องนับจากการสร้างรัฐสมัยใหม่ใน
             สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา เช่น นายอำาเภอในยุคแรกๆ เมื่อถูกส่งไปเป็นผู้ปฏิบัติงานแทนรัฐเพื่อควบคุม

             ท้องถิ่นที่ห่างไกลจากศูนย์กลาง แต่เมื่อไปถึงท้องถิ่นนั้น ก็ต้องเข้าหานักเลงประจำาถิ่นเพื่อหาข้อมูลหรือ
             เพื่อประนีประนอมกับนักเลง ไม่เช่นนั้นก็ทำางานไม่ได้


                      ถ้าเราจะมองต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เราคงเห็นพ้องต้องกันว่า อย่าว่าแต่นายอำาเภอสมัยโน้นเลย

             ท่านผู้ว่าฯ สมัยนี้ก็ทำางานลำาบากหากไปถิ่นไหนที่เจ้าพ่อเข้มแข็งแล้วไม่อาจประนีประนอมกับเจ้าพ่อได้
             ดังนั้น  สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงนับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือสายสัมพันธ์ที่พิงกันอย่างแน่นแฟ้น

             ระหว่างผู้อยู่ในอำานาจรัฐกับเจ้าพ่อ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60