Page 58 - kpiebook63014
P. 58

57





                                                 บทที่ 3






























                  บริบทของการเลือกตั้งในสังคมไทย



                          การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขสำาคัญประการหนึ่งของการวัดระดับความเป็นประชาธิปไตย โดย
                  หลักสากลทั่วไป การเลือกตั้งเป็นส่วนที่สะท้อนถึงกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ครอบคลุมถึง

                  สิทธิทางการเมืองและเสรีภาพทางการเมือง การเป็นตัวแทนที่ได้รับความชอบธรรมจากเสียงของประชาชน
                  และยังเป็นการสะท้อนถึงความมีเสถียรภาพทางการเมืองได้อีกทางด้วย


                          ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กล่าวได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่กระบวนการ

                  ประชาธิปไตย ตลอดระยะเวลา 80 กว่าปีที่ผ่านมา การเมืองของประเทศไทยล้มลุกคลุกคลานไม่มี
                  เสถียรภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำานาจในสังคมไทย ที่ยังไม่สามารถทำาให้อำานาจในการตัดสินใจ

                  ทางการเมืองอยู่ในมือประชาชนส่วนใหญ่ได้ ในบทนี้จะกล่าวถึงบริบทของการเลือกตั้งในสังคมไทย โดย
                  ย้อนกลับถึงการเลือกตั้งที่นำาไปสู่การมีนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อสะท้อน

                  ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญอันนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง





                          การเลือกตั้งในปี 2531


                          การเลือกตั้งในปี 2531 เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย เนื่องจากในการ

                  เลือกตั้งครั้งนั้นประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรก คือ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
                  (ยศในขณะนั้น) ประกอบกับบริบทของการเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุคของการแข่งขันทางการค้า

                  ส่งผลให้นโยบายของรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ที่สำาคัญคือการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้ากับ
                  บรรดาประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นยุคที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจเติบโตในอัตราตัวเลขสองหลัก
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63