Page 61 - kpiebook63014
P. 61

60     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             นายกรัฐมนตรี จนนำาไปสู่การเคลื่อนไหวของมวลชนเพื่อขับไล่พลเอกสุจินดา คราประยูร และเหตุการณ์

             การนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535


                      แม้ว่าหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 สถานการณ์การเมืองจะผ่านการเลือกตั้งทั่วไป
             พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งกลับไม่มีความมั่นคงและมีอายุในการบริหารกิจการบ้านเมือง

             ไม่ยาวนานนัก ด้วยระบบการเมืองยังคงยึดเกาะกับระบบมุ้งการเมืองที่สังกัดพรรคต่างๆ เป็นตัวแปรสำาคัญ
             ในการมีเสถียรภาพของรัฐบาล ส่งผลให้เกิดกระแสเรียกร้องปฏิรูประบบการเมืองเพื่อสร้างระบบที่ประกัน

             เสถียรภาพของรัฐบาล ประกอบกับความล้มเหลวในการเปิดเสรีการเงินที่นำามาสู่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540
             จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540


                      การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2544 โดยกลไกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่มีฐานคติ

             ของผู้ยกร่างที่ต้องการสร้างพรรคการเมืองระบบทวิพรรค ที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่มากกว่าพรรคเล็ก
             โดยผ่านระบบเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทำาให้การเมืองระดับชาติหลุดพ้นอำานาจครอบงำาของ
             ผู้แทนท้องถิ่นต่างจังหวัด รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 ยังถูกออกแบบมาให้เกิดฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งและ

             นายกรัฐมนตรีที่เข้มแข็ง (strong Executive, Strong Prime Minister) ด้วยการมีบทบัญญัติที่สำาคัญใน

             มาตรา 217 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำานาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากการเป็น
             รัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำาแนะนำา” ทำาให้นายกรัฐมนตรีมีอำานาจเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ในการปลด
             รัฐมนตรีอย่างที่ไม่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ (เกษียร เตชะพีระ, 2547, 38-39)


                      นโยบายการหาเสียงที่ดำาเนินการโดยพรรคไทยรักไทย เกิดจากการรวบรวมความต้องการของ

             ภาคส่วนต่างๆ ทั้งกลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนักกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงประชาชนในระดับรากหญ้า ส่งผลให้
             เกิดชุดนโยบาย dual track ที่ตอบสนองความต้องการทั้งธุรกิจและประชาชน ทำาให้การเลือกตั้งเดือน

             มกราคม 2544 สามารถกวาดที่นั่งทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             แบบบัญชีรายชื่อได้ถึง 248 ที่นั่งโดยไม่ต้องแสวงหาพรรคร่วมรัฐบาลแต่ประการใด


                      กติกาภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยกลายเป็นพรรคการเมืองแรกที่หัวหน้าพรรค

             ในฐานะนายกรัฐมนตรีดำารงตำาแหน่งจนครบวาระ 4 ปี โดยที่ในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548
             พรรคไทยรักไทยยังคงเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมโดยได้รับการเลือกตั้งทั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต

             และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อถึง 377 ที่นั่ง ความนิยมจากคะแนนเสียงของผู้เลือกตั้ง ส่งผลให้รัฐบาล
             ไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้ง ดำาเนินการที่ เกษียร เตชะพีระ (2553, 37) “ระบอบประชาธิปไตยอำานาจ

             นิยมภายใต้อำานาจนำาทางการเมืองของกลุ่มทุนใหญ่โลกาภิวัตน์” โดยมีลักษณะการใช้อำานาจการเมือง
             รวมศูนย์อำานาจเด็ดขาดที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ใช้อำานาจในการแก้ปัญหา ความโน้มเอียงและความพร้อม

             ที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพในร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินของพลเมือง ก้าวล่วงรัฐธรรมนูญ ผูกขาดการเมือง
             และอุปถัมภ์ชาวบ้าน กำาราบและปฏิรูปกลไกรัฐราชการที่อืดอาด  พร้อมใช้อำานาจรัฐ “ทำาสงคราม”

             แก้ปัญหาวิกฤตของชาติอย่างเบ็ดเสร็จ ในด้านของการบริหารประเทศมีลักษณะของการบริหารแบบธุรกิจ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66