Page 62 - kpiebook63014
P. 62
61
กล่าวคือ หัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน (Capitalist Political CEO) รวมศูนย์ในแง่
นโยบายเศรษฐกิจ โดยเล่นบทบาทเป็นผู้ตัดสินคำาถามหลักทางการเมือง “ใครจะได้อะไร เมื่อไร และ
อย่างไร” (Who get what, when and how) กลุ่มทุนใหม่ในพรรคไทยรักไทย คือ กลุ่มทุนระดับชาติ
การประกอบการมักเป็นแบบสัญญาสัมปทานผูกขาดกิจการของรัฐ กลุ่มทุนใหม่เหล่านี้ได้เข้ายึดกุมอำานาจ
รัฐเอง บริหารเองโดยตรง แทนที่จะเป็นการบริหารเพื่อทุนนิยมผ่านตัวแทน เช่น ทหาร เทคโนแครต หรือ
นักเลือกตั้งดังแต่ก่อน
ลักษณะการบริหารประเทศในแนวทางที่เอื้อให้กับกลุ่มทุนสังกัดพรรคไทยรักไทย ลดความสำาคัญ
ของบรรดาข้าราชการประจำา การผูกขาดอำานาจทางการเมืองผ่านการชนะการเลือกตั้ง กลายเป็นความเสี่ยง
ต่อภัยคุกคามอื่น ทั้งทหาร-ตุลาการ-เครือข่ายข้าราชบริพาร กับ ประชาสังคม เข้าใจดีว่าจะเขย่าที่นั่งทักษิณ
จะต้องทำาผ่านการไม่เลือกตั้ง (non-election) การควำ่าบาตรไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองในปี
2549 และในเดือนกันยายน 2549 กองทัพเข้ายึดอำานาจจากรัฐบาลทักษิณ
การเลือกตั้งหลังรัฐประหาร 2549 ไม่สามารถนำามาซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้
พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งไม่สามารถบริหารประเทศได้ การเมืองไทยตกอยู่ภายใต้อำานาจของ
เครือข่ายที่เป็นศัตรูกัน 2 พลังอย่างชัดเจน เครือข่ายแรก ให้ความสำาคัญกับสถาบันกษัตริย์ กองทัพ
ระบบราชการ และพรรคประชาธิปัตย์ และเครือข่ายที่สอง ทักษิณและพรรคการเมือง รวมถึงการสนับสนุน
อย่างไม่เป็นทางการจากตำารวจ สังคมไทยอยู่ในสภาพการเคลื่อนไหวของพลังที่เป็นปฏิปักษ์มีการแบ่งฝัก
แบ่งฝ่าย (polarization) ในสังคมอย่างชัดเจน จนนำาไปสู่การรัฐประหารในปี 2557 คณะรัฐประหาร คสช.
ได้รวบอำานาจและจำากัดสิทธิทางการเมืองของพลเมือง
พรรคก�รเมือง
เจ้�พ่อท้องถิ่น /
หัวคะแนน
ประช�ชน
ภ�พที่ 3.2 คว�มเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ผ่�นก�รใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540