Page 67 - kpiebook63014
P. 67

66     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             5-15 งานของศรีศักดิ์ วิลลิโภดม ได้กล่าวว่าการเกิดบ้านเมืองที่พัฒนาขึ้นเป็นรัฐในระยะแรกๆ อาจเกิดขึ้น

             ทางบริเวณลุ่มแม่นำ้าชีตั้งแต่จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธรลงมาจนถึงอุบลก็เป็นได้ เพราะบริเวณ
             ดังกล่าวนั้นเป็นแหล่งที่พบโบราณสถานโบราณวัตถุที่ต่อเนื่องด้วยอารยธรรมอินเดียเก่าแก่กว่าบริเวณอื่น

             นับแต่เสมาหินที่มีการสลักภาพสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ทับหลังและ
             ชิ้นส่วนของประสาทสมัยก่อนเกิดเมืองพระนคร (บุญยัง หมั่นดี, 2540, 6)


                      ชุมชนโบราณที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการตั้งแต่การเป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์

             กับการถลุงแร่เหล็กและการฝังศพที่สืบทอดจนเป็นบ้านเมืองและรัฐที่มีการสร้างวัตถุสถานทางพุทธศาสนา
             และฮินดูในสมัยพุทธศตวรรษที่ 6-7 ขึ้นไปได้แก่บ้านเมืองเตย บ้านตาดทอง บ้านบึงแก บ้านเปลือยหัวคง

             บ้านโนนเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นต้น ซึ่งหลักฐานโบราณคดีเหล่านี้ ล้วนชี้ให้เห็นว่าบ้านเมืองในยุค
             ต้นประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดยโสธรและอุบลราชธานีก่อนที่อื่นๆ (บุญยัง หมั่นดี, 2540, 6-7)


                      อิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรได้แพร่ขยายในบริเวณภาคอีสาน พบการสร้างเมืองเป็นรูปทรง
             สี่เหลี่ยมจัตุรัสผืนผ้าซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์กับระบบความเชื่อศาสนาเกี่ยวกับทัศนคติจักรวาล ซึ่งเรียกว่า

             อารยธรรมเขมรที่นิยมสร้างสระนำ้าที่เรียกว่า “บาราย” ควบคู่ไปกับการสร้างเมืองหรือใกล้กับแหล่งชุมชน

             เช่นที่ราชธานีเขมรบางแห่ง พบร่วมกับบริเวณที่มีคูคันดินล้อมรอบ เช่นที่บ้านธาตุ อำาเภอรัตนบุรี ที่บ้าน
             ปราสาทภูมิโปนอำาเภอสังขะ เป็นต้น ส่วนชุมชนโบราณที่อำาเภอศีขรภูมิมีบารายขนาดใหญ่ หรือชุมชน
             โบราณปราสาทบ้านพลวงอำาเภอปราสาทก็เช่นเดียวกัน จึงเห็นว่าสุรินทร์เป็นพื้นที่หนึ่งของแอ่งอารยธรรม

             เขมรที่สำาคัญ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของประชากรในจังหวัดปัจจุบันที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์

             ไม่ว่าจะเป็นส่วย กวยหรือกูย

                      ต่อมาเมื่อ พ.ศ 2302 ตรงกับสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) แห่ง

             กรุงศรีอยุธยามีหลักฐานกล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน เรียบเรียงโดยหม่อมอมรวงศ์วิจิตร
             เลขานุการในพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ผู้สำาเร็จราชการมณฑล

             อีสานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ...เวลานั้น
             พญาช้างเผือกแตกออกจากกรุงไปอยู่ในป่าดงทางตะวันตกแขวงเมืองจำาปาสัก โปรดให้พี่น้องคุมไพร่และ

             กรมช้างออกเที่ยวติดตามพญาช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย และเลยไปถึงดงฟากฝั่งลำานำ้ามูลข้างใต้
             จึงได้ข่าวพญาช้างเผือกจากพวกเขมรป่าดง พวกหัวหน้าหมู่บ้านชาวกวยที่อาสานำาทางให้สองพี่น้อง

             และบริพารออกติดตามจับช้างเผือกจนได้คือเชียงปุม หัวหน้าเมืองบ้านที เชียงสี หัวหน้าบ้านกุดหวาย
             ตากะจะ (ผู้อาวุโส) และเชียงขัน หัวหน้าบ้านลำาดวน และเชียงฆะ หัวหน้าบ้านโคกอัจปึง หัวหน้าหมู่บ้าน

             เหล่านี้ได้นำาพญาช้างเผือกไปยังกรุงศรีอยุธยาพร้อมคณะที่ติดตามพญาช้างเผือกด้วย สมเด็จพระที่นั่ง
             สุริยาศน์อมรินทร์จึงโปรดให้หัวหน้าชาวกวยเข้าเฝ้าพร้อมสิ่งของที่นำาไปถวายคือเต่าและตะกวดอย่างละ 5 ตัว

             เนื้อทรายอย่างละ 4 ตัว ได้หลายอย่างละ 3 มัด ให้แต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านชาวกรวยมีบรรดาศักดิ์ทุกคน ดังนี้
             ตากะจะเป็นหลวงแก้วสุวรรณ เชียงขันเป็นหลวงปราบ  เชียงฆะเป็นหลวงเพชร เชียงตุงเป็นหลวงสุรินทรภักดี

             และเชียงสีเป็นหลวงศรีนครเตา นายกองส่วยทั้ง 5 คนได้เป็นผู้คุมชาวกวยและชาวเขมรในละแวกบ้าน
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72