Page 72 - kpiebook63014
P. 72

71








                          สัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์จังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่มาจากการผลิตนอกภาคการเกษตร

                  (ร้อยละ 74.4) มีจำานวน 18 สาขา ซึ่งสาขาที่มีสัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์มากที่สุด ได้แก่ สาขาการศึกษา
                  (ร้อยละ 16.3) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (ร้อยละ 12.4)

                  สาขาการผลิตอุตสาหกรรม (ร้อยละ 9.5) สาขาการเงินและการประกันภัย (ร้อยละ 9.3) การบริหาร
                  ราชการ การป้องกันประเทศฯ (ร้อยละ 6.5) สาขากิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 5.2)

                  สาขาการก่อสร้าง (ร้อยละ 4.3) และสาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 3.9)
                  สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า (ร้อยละ 1.9) ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาต่างๆ ซึ่งไม่แตกต่างกัน

                  มากนัก (แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสุรินทร์, 2563, 10)

                          สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีอัตราการเติบโต

                  ไม่คงที่ เห็นได้จากตัวเลขของมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 - 2556 มีอัตราการเติบโตที่
                  ค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 4.8 - 7.9 และราบรื่นดีมาโดยตลอด กระทั่งในปี พ.ศ.2557 ตัวเลขลดลงอย่าง

                  เห็นได้ชัด มีอัตราการเติบโตติดลบที่ร้อยละ 1.4 ซึ่งในช่วงนี้จังหวัดในกลุ่มนครชัยบุรินทร์มีสภาวการณ์
                  ทางเศรษฐกิจที่ถดถอยเช่นเดียวกัน จากนั้นในปี พ.ศ.2558-2559 จังหวัดสุรินทร์เริ่มมีอัตราการเติบโต

                  ที่ดีขึ้น แต่โดยภาพรวมแล้วในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดีเติบโตอย่างต่อเนื่อง
                  แต่แนวโน้มของการเติบโตมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ช่วงสามปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ

                  2.85 ซึ่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ส่วนของ
                  ประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ส่งผลต่อการเรียงลำาดับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคนต่อปีของจังหวัด

                  สุรินทร์ที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่ม
                  ท้ายๆ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าจังหวัดสุรินทร์ (แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสุรินทร์, 2563, 10)





                          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์



                          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เกิดขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง
                  การปกครอง 2475 ซึ่งคณะราษฎรได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

                  สยามพุทธศักราช 2475 โดยกำาหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภทคือ ประเภท
                  ที่มาจากการแต่งตั้งและประเภทที่มาจากการเลือกตั้ง สำาหรับส่วนที่มาจากการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้ง

                  ทางอ้อม โดยเลือกผู้แทนตำาบลก่อน จากนั้นผู้แทนตำาบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง


                          งานศึกษาของไพฑูรย์ มีกุศล (2552, 28-37) ได้ทำาการศึกษาการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในจังหวัด
                  สุรินทร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2476-2550 พบว่ามีเพียงการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ที่เป็นการเลือกตั้ง

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม นอกนั้นการเลือกตั้งที่เกิดในประเทศไทยเป็นการเลือกตั้งทางตรงโดย
                  ให้ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนของตนเอง โดยจะหยิบยกรายละเอียดของการเลือกตั้ง

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่น่าสนใจมาอธิบายให้เห็นดังนี้
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77