Page 76 - kpiebook63014
P. 76
75
หลายอย่าง เป็นเชื้อเพลิงแห่งความโกรธแค้นจนเกิดมีการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2549 นำาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ และ
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์)
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ปี 2549 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ทุกพรรคการเมืองยกเว้น
พรรคไทยรักไทยประกาศควำ่าบาตรการเลือกตั้งโดยไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกิดขึ้น
หลายประเด็น เช่น ผู้สมัครหลายเขตได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนโนโหวต กกต.เขตในบางจังหวัด ประกาศ
ลาออก ทำาให้บางเขตเลือกตั้งไม่สามารถเปิดทำาการหน่วยเลือกตั้งได้ รวมทั้งมีผู้ฉีกบัตรเพื่อประท้วง
การเลือกตั้งครั้งนี้ ทำาให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายื่นคำาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง
ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และให้จัดการเลือกตั้งใหม่
ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่ในที่สุดเส้นทางการเลือกตั้งที่ถูกกำาหนดไว้ได้สะดุดลงหลังจากเกิดรัฐประหาร
ในวันที่ 19 กันยายน 2549 www.thaipublica.org
การเลือกตั้งครั้งที่ 22 ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบการเลือกตั้งมาเพื่อแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น คือ
ความได้เปรียบของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ เช่น การกำาหนดให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนบัญชีรายชื่อ
ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว เพื่อไม่ให้พรรครัฐบาลเข้มแข็งเกินกว่าที่
ควรจะเป็น ขณะเดียวกันกลับมีฝ่ายค้านอ่อนแอ ไม่อาจสู้เสียงในสภาได้จนกระทบต่อการถ่วงดุลในการ
ตรวจสอบรัฐบาล วิธีการเลือกตั้งครั้งนี้จึงกำาหนดให้จัดการเลือกตั้งแบบเขตเดียวหลายคน จำานวน 400 คน
และเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยกำาหนดกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งจำานวน 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละกลุ่มมี
ส.ส. 10 คน รวม ส.ส.สัดส่วนทั้งหมด 80 คน www.thaipublica.org โดยจังหวัดสุรินทร์มีจำานวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 9 คน จาก 3 เขตเลือกตั้ง โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคพลังประชาชน
7 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย 2 คน