Page 74 - kpiebook63014
P. 74
73
สภาผู้แทนราษฎรจำานวน 3 คน คือ นายญาติ ไหวดี นายยืน สืบนุการณ์ และนายเหลื่อม พันธุ์ฤกษ์ สำาหรับ
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดสุรินทร์มี
3 ท่าน คือ นายญาติ ไหวดี นายเหลื่อม พันธุ์ฤกษ์ และนายยืน สืบนุการณ์ ในการเลือกตั้งครั้งที่ 8 เมื่อ
วันที่ 15 ธันวาคม 2513 จังหวัดสุรินทร์มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน คือนายญาติ ไหวดี พรรคสหภูมิ
นายเปลื้อง วรรณศรี พรรคแนวร่วมสังคมนิยม และนายสุธี ภูวพันธ์ ไม่สังกัดพรรค สมาชิกภาพของ
สภาผู้แทนสิ้นสุดลงโดยคณะปฏิวัติซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติได้ประกาศ
ยึดอำานาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ยังผลให้รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศ
และพระราชบัญญัติพรรคการเมืองสิ้นสุดลงด้วย บรรดานักการเมืองฝ่ายค้านในยุคนั้นถูกจับกุมในข้อหา
กระทำาการอันเป็นคอมมิวนิสต์ หลังการเดินทางเยือนสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามคำาเชิญของรัฐบาลทั้งสองประเทศ นายเปลื้อง วรรณศรี ถูกจับกุมโดยคำาสั่งของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับพลเรือตรีขำา หิรัญ นายเทพ โชตินุชิต นายพรชัย แสงชัจจ์ และ
นายแคล้ว นรปติ โดยถูกจำาคุกอยู่ในเรือนจำาลาดยาวเป็นเวลา 8 ปี (ไพฑูรย์ มีกุศล, 2552, 29-30)
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10-17 ระหว่างปี พ.ศ.2518-2535 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10 ถึง 17
เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบผสมระหว่างการแบ่งเขตกับการรวมเขตเลือกตั้งโดยถือเอาจำานวนราษฎร
150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน โดยในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518
และการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 จังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น
2 เขต โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 คน ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522
และครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 จังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต โดยมีผู้แทน
ราษฎร 7 คน ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 15
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 และการเลือกตั้ง
ทั่วไปครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 จังหวัดสุรินทร์แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต โดยมีผู้แทน
ราษฎร 8 คน (ไพฑูรย์ มีกุศล, 2552, 30-34)
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 18 และ 19 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 และวันที่ 17 พฤศจิกายน
2539 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 โดยการ
เปลี่ยนแปลงจำานวน ส.ส. จากเดิมที่กำาหนดไว้ตายตัว 360 คน เป็นจำานวน ส.ส. 1 คน ต่อประชากร
150,000 คน ทำาให้การเลือกตั้งครั้งนั้นมี ส.ส. จำานวน 391 คน และ 393 คนตามลำาดับ ส่งผลให้จังหวัด
สุรินทร์ยังคงเขตเลือกตั้ง 3 เขต แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 9 คน (ไพฑูรย์ มีกุศล, 2552, 34-35)
สำาหรับการเลือกตั้งครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ด้วยวิธีการเลือกตั้งแบบผสม โดยเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
(one man one vote) จำานวน 400 คน และ ส.ส. จากบัญชีรายชื่อ (party lists) 100 คน ซึ่งมีเขตเลือก
ตั้งคือเขตประเทศ เสมือนว่าการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อคือการเลือกพรรคที่ชอบ โดยพรรคการเมือง
นั้นๆ จะจัดทำาบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ โดยจัดเรียงตามลำาดับความสำาคัญ การเลือกตั้งปี 2544