Page 69 - kpiebook63014
P. 69

68     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             เทศาภิบาลขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทำาให้แบ่งเบาภาระรัฐบาลกลางในหน้าที่ราชการ

             ส่วนภูมิภาคได้อย่างมาก การกำากับราชการเมืองสุรินทร์นั้น ทางราชการส่วนกลางได้แต่งตั้งให้
             หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) กับขุนกำาพุชภาจา (ล่ามภาษากวยและเขมร) อยู่ประจำาการรักษาราชการ

             มีหน้าที่ควบคุมดูแลปราบปรามโจรผู้ร้ายและจัดราชการภายในเมืองสุรินทร์ตามระบบเทศาภิบาล
             หลวงธนสารสุทธารักษ์เป็นข้าหลวงคนแรกที่ทางราชการส่งมากำากับราชการเมืองสุรินทร์ แต่ตำาแหน่ง

             เจ้าเมืองและกรมการในห้วงนั้นยังมีเจ้าเมืองกรมการในท้องถิ่นปกครองสืบเชื้อสายกันต่อมา แต่อำานาจ
             เฉียบขาดตกอยู่กับหลวงประจำาเมือง “บางครั้งหลวงสุทธิสารสุทธารักษ์ใช้อำานาจลงทัณฑ์ผู้กระทำาผิด

             รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็มี” ข้าหลวงกำากับราชการเมืองสุรินทร์ต่อจากหลวงธนสารสุทธารักษ์มีอีกหลายท่าน
             แต่ละท่านรับราชการอยู่เพียงปีเดียวก็ย้ายไปรับราชการที่อื่น ยกเว้นหลวงสาธรสรรพกิจ (อู๊ด) ที่รับราชการ

             อยู่ที่เมืองสุรินทร์ถึง 12 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2438 ถึง 2450 ในปีต่อมาทางราชการได้แต่งตั้งพระกรุงศรีบริรักษ์
             มาดำารงตำาแหน่งข้าหลวงประจำาเมืองสุรินทร์คนแรก ส่วนตำาแหน่งเจ้าเมือง ได้เปลี่ยนเป็นตำาแหน่ง

             ผู้ว่าราชการสืบต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2459 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นตำาแหน่งผู้ว่าราชการเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง
             การปกครอง 2475 ทางราชการได้เปลี่ยนมาเป็นตำาแหน่งข้าหลวงประจำาจังหวัดอีกจนถึง พ.ศ 2495

             ทางราชการได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้แบ่งส่วนราชการส่วนภูมิภาค เป็นภาค จังหวัด และ
             อำาเภอ จึงเปลี่ยนตำาแหน่งข้าหลวงประจำาจังหวัดกลับมาเป็นตำาแหน่งผู้ว่าราชการจนถึงปัจจุบัน (ไพฑูรย์

             มีกุศล, 2552, 20-21)





                     ที่ตั้งและอาณาเขต



                      จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา
             และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 และ 16 องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ
             450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2553)


                      ทิศเหนือ        ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม


                      ทิศตะวันออก     ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ

                      ทิศใต้          ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ในพื้นที่ 4 อำาเภอ คือ บัวเชด สังขะ กาบเชิง
                                      และพนมดงรัก ความยาวตลอดแนวชายแดนประมาณ 125 กิโลเมตร

                      ทิศตะวันตก      ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74