Page 68 - kpiebook63014
P. 68
67
ใกล้เคียง ขึ้นตรงต่อเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ในขณะนั้น ต่อมาเจ้าเมืองพิมายเห็นว่าบ้านเมืองที่ซึ่ง
หลวงสุรินทรภักดีเป็นนายกองรักษาอยู่ เป็นหมู่บ้านเล็กและขาดแคลนนำ้าในฤดูแล้งจึงให้ย้ายไปอยู่
บ้านคูปะทายสมันและได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุรินทร์ตามชื่อของหลวงสุรินทรภักดีในเวลาต่อมา (ไพฑูรย์
มีกุศล, 2552,18-19)
ต่อมาใน พ.ศ. 2319 เจ้าเมืองนครจำาปาศักดิ์เกิดวิวาทกับพระเจ้าอยู่หัวซึ่งหนีภัยการเมืองจาก
กรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์และได้มาขอพึ่งเจ้านครจำาปาศักดิ์อยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคืออำาเภอ
ดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี) พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์จึงโปรดให้พญาสุโพคุมกองทัพ
มาตีพระวอ พระวอสู้ไม่ได้จึงขอกำาลังเจ้านครจำาปาศักดิ์ให้มาช่วยแต่ไม่สำาเร็จ กองทัพพญาสุโพ
จึงยกกำาลังตามตีและจับพระวอฆ่าเสีย ฝ่ายท้าวกำ่าท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำาผงและท้าวทิดพรมนั้นหนีมาได้
จึงแต่งให้คนถือหนังสือไปขอกำาลังช่วย จากเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมาได้มีใบบอกกราบทูล
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกกำาลังไปสมทบกับ
กำาลังเกณฑ์เมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังขละ เพื่อตามตีกองทัพพญาสุโพ ผลของสงครามครั้ง
นั้นปรากฏว่ากองทัพพระเจ้ากรุงธนสามารถตีเมืองต่างๆ แถบลุ่มแม่นำ้าโขงได้ทั้งหมด ดังนั้นดินแดนที่
เคยขึ้นอยู่กับอาณาจักรจำาปาศักดิ์ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
ได้ยอมอ่อนน้อมเป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2321 เป็นต้นมา ในปีเดียวกันนั้นสมเด็จพระเจ้าชั้น
“เจ้าพระยา” ซึ่งขณะนั้นทางหัวเมืองภาคอีสานมีเพียงเจ้าเมืองนครราชสีมาที่มีบรรดาศักดิ์ที่ชั้นเจ้าพระยา
นอกจากการสงครามในเขตอีสานแล้ว กองทัพกรุงธนบุรียังได้ยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐ เมืองกำาปงสวาย
เมืองบันท้ายเพชร เมืองบันทายมาศและเมืองรูงตำาแร็ยในดินแดนเขมรด้วย เจ้าเมืองเหล่านี้ต้องยอมแพ้
แก่กองทัพไทย ผลของสงครามนั้นทำาให้ชาวเขมรและชาวบราย ซึ่งเป็นเผ่ากวยสาขาหนึ่งอพยพมาอยู่
ในเขตแดนเมืองสุรินทร์และเมืองสังขะโดยมีหัวหน้าคนสำาคัญๆ เป็นผู้นำา เช่นออกญานรินทร์เสน่ห์หา
จางวาง ออกญาไกรแป้น ออกญาตูมและนางดามมาตไว บุตรีเจ้าเมืองบันทายเพชร หลวงสุรินทร์เสน่หา
(ตี) ได้ให้บุตรชายชื่อสุนแต่งงานกับนางดามมาตไว จึงส่งผลให้ชาวเขมรอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเมือง
สุรินทร์และเมืองสังขะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากชาวเขมรมีความเจริญทางประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็น
ชาวเมืองมากกว่าชาวกวย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่อยู่อาศัยตามป่าดง ในส่วนของวัฒนธรรมเมืองของ
ชาวกวยก็ค่อยๆ กลืนกลายเป็นวัฒนธรรมเขมรในที่สุด (ไพฑูรย์ มีกุศล, 2552,19-20)
กรมพระยาดำารงราชานุภาพได้บันทึกไว้ว่าเจ้าเมืองกรมการเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์
และเมืองอื่นๆ ในยุคนั้นได้ปกครองตนเองสืบเชื้อสายเจ้าเมืองกรมการมาจนถึงรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชปรารภว่า….ฝรั่งเศสได้จัดทำาการทำานุบำารุง
เขตแดนใกล้ชิดติดกับชายพระราชอาณาเขต…ควรจะจัดส่งข้าหลวงที่ทรงคุณวุฒิปรีชาสามารถออกไป
ประจำาการรักษาพระราชอาณาเขตจึงโปรดเกล้าให้จัดส่งข้าหลวงมากำากับราชการเมืองสุรินทร์และเมือง
อื่นๆ ตั้งแต่พ.ศ 2434 ทำาให้เจ้าเมืองสุรินทร์และหัวเมืองชั้นนอกทั้งหลายไม่ค่อยมีอำานาจการปกครอง
เมืองอย่างเต็มที่เหมือนแต่ก่อน ต่อมา พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำารงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลพร้อมกันทั้งราชอาณาจักร ข้าหลวง