Page 71 - kpiebook63014
P. 71

70     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






                      ในส่วนของการบริหารราชการแผ่นดิน จังหวัดสุรินทร์ มีส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และ

             หน่วยงานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด จำานวน 328 หน่วยงาน แยกเป็น

                      •  ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง จำานวน 88 หน่วยงาน
                      •  ส่วนราชการส่วนภูมิภาคประจำาจังหวัด จำานวน 34 หน่วยงาน

                      •  ส่วนราชการส่วนท้องถิ่น จำานวน 173 หน่วยงาน

                      •  รัฐวิสาหกิจ จำานวน 14 หน่วยงาน

                      •  หน่วยงานพิเศษ จำานวน 15 หน่วยงาน

                      •  หน่วยงานในกำากับของกระทรวงการคลัง จำานวน 1 หน่วยงาน

                      •  หน่วยงานในกำากับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ จำานวน 3 หน่วยงาน




                     สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์


                      จังหวัดสุรินทร์เป็นเมืองเกษตร หากพิจารณาสัดส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดในภาคการเกษตร

             แล้ว จะพบว่า ภาคการเกษตรมีส่วนสำาคัญอย่างยิ่งต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีสัดส่วน
             ถึงร้อยละ 23-33 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด สังเกตได้ว่าในปีที่มีสัดส่วนของมูลค่าในภาคการเกษตรสูง

             มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดจะสูงขึ้นตามไปด้วย จากตัวอย่างในปี พ.ศ. 2556 ที่ผลิตภัณฑ์จังหวัดสุรินทร์มีมูลค่า
             สูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 70,916 ล้านบาท และมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดในภาคการเกษตรก็มีสัดส่วนสูง

             ที่สุดในรอบ 10 ปี เช่นกัน คือ ร้อยละ 32.7 ซึ่งในช่วงเวลาปกติมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดในภาคการเกษตร
             จะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 22–28 เท่านั้น


                      ข้อมูลการใช้ที่ดินในปี พ.ศ.2558 ของสำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ 5,077,534 ไร่
             เป็นพื้นที่ทำาการเกษตรถึงร้อยละ 82.86 หรือ 4,207,389 ไร่ )เป็นท่ีนา 4,207,389 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ

             84.04 เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ 375,470 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.92) ลักษณะการถือครองที่ดินทางการเกษตร

             ร้อยละ 57.42 เป็นเนื้อที่ของตนเอง ส่วนอีกร้อยละ 42.58 เป็นการทำาการเกษตรบนเนื้อที่ของผู้อื่น เช่น
             เช่าผู้อื่น หรือ ได้ทำาฟรี พื้นที่ทำาการเกษตรส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ทำาให้การดำาเนินกิจกรรม
             ทางการเกษตรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพานำ้าฝนเป็นหลัก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำาคัญ คือ ข้าว มันสำาปะหลัง

             อ้อย ยางพารา เป็นต้น ส่วนด้านปศุสัตว์ ผลผลิตที่สำาคัญ คือ ไก่ เป็ด และโค

                      ข้อมูลจากสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี พ.ศ.2559 พบว่า

             อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาประจำาปี

             มีมูลค่า 70,473 ล้านบาท อยู่ลำาดับที่ 70 ของประเทศ จากจำานวน 77 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร)
             อยู่ลำาดับที่ 15 จากจำานวน 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคนต่อปี
             (GPP per capita) อยู่ที่ 60,462 บาท สูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อย โดยในปี พ.ศ.2558 มีมูลค่า 62,498 บาท

             หรือมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจคิดเป็น ร้อยละ 1.9 (แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสุรินทร์, 2563, 10)
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76