Page 73 - kpiebook63014
P. 73

72     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






                      การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้กำาหนดให้มีการเลือกตั้ง

             สมาชิกประเภทที่ 1 เป็นครั้งแรกและการเลือกตั้งทางอ้อมโดยวิธีแบ่งเขต ในแต่ละเขตได้กำาหนดจำานวน
             ราษฎรไว้ 2 แสนคนต่อผู้แทน 1 คนโดยให้ราษฎรในหมู่บ้านเลือกตัวแทนของหมู่บ้าน ขั้นตอนต่อไป

             ผู้แทนของหมู่บ้านเลือกผู้แทนในระดับตำาบล ผู้แทนระดับตำาบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง
             จึงเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ประชาชนยังไม่มีสิทธิเลือกตัวแทนของตนโดยตรง โดยคณะราษฎร์อ้างเหตุผล

             ว่าเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เพิ่งเริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลยังขาด
             ความเชื่อมั่นในความพร้อมของประชาชนที่จะปกครองตนเอง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนี้มีสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรจำานวน 78 คนจังหวัดสุรินทร์มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             จังหวัดสุรินทร์คนแรกคือ รองอำามาตย์ตรีขุนรักษ์รัษฎากร (จวบ ไมยรัตน์) ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2

             พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ 2476 มีจำานวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 คือจำานวน
             78 คน โดยมีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกนี้ดำารง

             ตำาแหน่งอยู่จนครบวาระ 4 ปี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2480 ซึ่งถือว่าเป็นการออกตามวาระที่รัฐธรรมนูญ
             กำาหนด (ไพฑูรย์ มีกุศล, 2552, 28)


                      การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2-4 ระหว่างปี พ.ศ.2480-2489 เป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยวิธีแบ่งเขต

             การเลือกตั้งครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 เป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยวิธีแบ่งเขต แต่ละเขตให้มี
             ผู้แทนราษฎรได้ 1 คนต่อจำานวนราษฎร 2 แสนคน การเลือกตั้งมีผู้แทนราษฎรในครั้งที่ 2 จำานวน 91 คน

             จังหวัดสุรินทร์มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คนคือนายปรึกษ์ แก้วปลั่ง (เขต 1) และนายบรรณ์ สวันตรัจฉ์
             (เขต 2) ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ยังเป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยวิธีแบ่งเขตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481

             แต่ละเขตมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คนและถือเอาจำานวนราษฎร 2 แสนคนต่อผู้แทน 1 คน จังหวัด
             สุรินทร์มีสมาชิกสภาผู้แทน 2 คนคือนายปรึกษ์ แก้วปลั่ง (เขต 1) และและนายบรรณ์ สวันตรัจฉ์ (เขต 2)

             เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติขยายกำาหนดเวลาอยู่ในตำาแหน่งของสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎรออกไปอีกโดยอ้างเหตุผลว่าในช่วงเวลานั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามระหว่าง

             ไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสและสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489
             เป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยวิธีแบ่งเขตแต่ละเขตมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คนและถือเอาจำานวนราษฎร

             200,000 คนต่อผู้แทน 1 คนจังหวัดสุรินทร์มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คนคือนายขาว ธรรมสุชาติ (เขต 1)
             และนายยืน สืบนุการณ์ (เขต 2) ต่อมาได้มีการเลือกตั้งเพิ่มเติมวันที่ 5 สิงหาคม 2489 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง

             คือ นายสิงห์ทอง กองทรัพย์ และนายสุพรรณ สืบสิทธิ์(ไพฑูรย์ มีกุศล, 2552, 28-29)

                      สำาหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 5-9 ระหว่างปี พ.ศ.2491-2512 เป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยวิธี

             รวมเขตและถือเอาจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งโดยมีการกำาหนดจำานวนราษฎร 200,000 คนต่อผู้แทน 1 คน

             ในการเลือกตั้งครั้งที่ 5 ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ 6-9 ถือเอาจำานวนราษฎร 150,000 คนต่อผู้แทน 1 คน
             ดังนั้นในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 5 จังหวัดสุรินทร์มีสมาชิกผู้แทน 2 ท่านคือนายญาติ ไหวดี และ
             นายนิล ประจันทร์ ในการเลือกตั้งครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 จังหวัดสุรินทร์มีสมาชิก
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78