Page 59 - kpiebook63014
P. 59

58     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






                      อย่างไรก็ตาม โครงสร้างระบบการเลือกตั้งในช่วงเวลาดังกล่าวมีคุณลักษณะที่ เกษียร เตชะพีระ

             (2550) เรียกว่า “นักเลือกตั้ง” ก็คือนักการเมืองผู้ลงสมัครแข่งขันและได้รับเลือกตั้งเข้าดำารงตำาแหน่งใน
             สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันตัวแทนทางการเมืองอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น พวกเขามักมีภูมิหลัง

             เป็นนักธุรกิจหัวเมืองต่างจังหวัดบวกเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น และฉะนั้นส่วนใหญ่จึงไม่สันทัดเชี่ยวชาญ
             การบริหารรัฐกิจและเศรษฐกิจมหภาค หากพะวงสนใจแสวงหาประโยชน์เฉพาะหน้าเข้าตัวหรือพวกพ้องเป็น

             สำาคัญ” ลักษณะของนักเลือกตั้งที่เข้ามาบริหารประเทศผ่านการเลือกตั้ง ส่งผลให้รัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ
             เผชิญกับปัญหาที่ถูกสังคมตั้งคำาถามในเรื่องการหมุนเวียนกันเข้ามารับประโยชน์และความรำ่ารวยผิดปกติ

             ของนักการเมืองหลายราย จนได้ฉายาว่า “รัฐบาลบุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท”


                      บรรดา “นักเลือกตั้ง” ต่างเล็งเห็นโอกาสในโครงสร้างอำานาจที่สามารถเอื้อให้กับธุรกิจที่อยู่ใน
             พื้นที่ของตนเอง ลักษณะเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้รับอานิสงส์จากสงคราม

             เย็น ทำาให้บรรดานักธุรกิจในระดับท้องถิ่นเติบโตและวิ่งเข้าสู่การแข่งขันทางการเมืองที่เป็นทางการผ่าน
             การเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนพรรคการเมืองหรือการเข้ามาเล่นการเมืองโดยตรงเอง ซึ่งเป็น

             ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 2520 เป็นต้นมา ซึ่งบรรดานักธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้อาศัยกลไกหัว
             คะแนนในการให้การอุปถัมภ์แก่ผู้ลงคะแนนเสียง เพื่อเป็นฐานเสียงในการเลือกนักธุรกิจเหล่านี้ให้เข้ามา

             นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

                      ดังนั้น ภายใต้ “ระบอบประชาธิปไตย” ที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

             เครือข่ายของพวกพ้องบริวารและชาวบ้านใต้การอุปถัมภ์ในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับกิจการเหล่านี้สามารถนำา

             มาฟอกล้างเพื่อปรับใช้ในการเลือกตั้งได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันตัวพวกนักเลือกตั้งเองก็จำาแลงแปลง
             กายจากเจ้าพ่อบ้านนอกตำ่าต้อยผู้ต้องคอยโค้งคำานับประจบเอาใจหัวหน้าส่วนราชการในท้องถิ่นไปเป็น
             ฯพณฯ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีผู้ทรงเกียรติ ณ ศูนย์อำานาจที่กรุงเทพมหานครซึ่งกุมอำานาจ

             บังคับบัญชาตามกฎหมายเหนือการแต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนลดปลดขั้น/ตำาแหน่งบรรดาข้าราชการอดีต

             “เจ้านาย” ของตน (เกษียร เตชะพีระ, 2550)

                      บรรดานักเลือกตั้งเหล่านี้อาศัยกลไก “หัวคะแนน” ในการรวบรวมบรรดาผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

             โดยอาศัยการอุปถัมภ์ในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้ลงคะแนนเสียงเหล่านั้น ลักษณะของระบบการเลือกตั้งในช่วงนี้
             ส่งผลให้กลุ่มมุ้งนักเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองใช้คะแนนเสียงของกลุ่มมุ้งตนเองทำาหน้าที่ต่อรองเก้าอี้

             รัฐมนตรีเมื่อได้รับเลือกตั้งเข้าไป ความต่อเนื่องของระบบมุ้งการเมือง ส่งผลให้ผลประโยชน์ที่เคยอยู่ในมือ
             ชนชั้นนำาโดยเฉพาะบรรดากลุ่มทหารที่ครองอำานาจทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องสั่นคลอน ขณะเดียวกัน

             บทบาทของข้าราชการที่เคยมีส่วนสำาคัญในการกำาหนดนโยบายสาธารณะเปลี่ยนมือมาสู่การกำาหนด
             นโยบายสาธารณะโดย ส่งผลให้ท้ายที่สุดรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งถูกปฏิวัติรัฐประหารโดย

             รสช. โดยการจับตัวนายกรัฐมนตรีและยึดอำานาจรัฐ โดยอาศัยข้ออ้างการเป็นรัฐบาลที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64