Page 54 - kpiebook63014
P. 54

53








                          งานศึกษาของสมบัติ จันทรวงศ์ (2535, 119-120) อธิบายคำาว่า “เจ้าพ่อ” ด้วยคำา 2 คำา คือ

                  คำาว่า “นักเลง” และคำาว่า “ผู้มีอิทธิพล” ซึ่งคำาว่านักเลงเป็นคำาที่มีคู่อยู่กับสังคมไทยมาช้านานแล้ว
                  ในความหมายที่ดีความเป็นนักเลง จะหมายถึงลักษณะประจำาตัว หรือคุณสมบัติความเป็นลูกผู้ชายของ

                  บุคคลดังกล่าวที่ทำาให้ผู้อื่นให้ความเคารพยำาเกรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลเช่นว่ามีบทบาทเป็น
                  ผู้ดูแลสมัครพรรคพวกเพื่อนฝูง คุณสมบัติของความเป็นลูกผู้ชาย หรือความเป็นนักเลงนี้รวมถึง

                  ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เสียสละ กล้าได้กล้าเสีย หรืออย่างที่เรียกกันว่าเป็นคนใจถึง สำาหรับคำาว่า
                  “อิทธิพล” ในที่นี้หมายถึง “อำานาจ” ที่บุคคลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมีหรือใช้ได้นอกเหนือขอบเขตอำานาจหน้าที่

                  ตามกฎหมายของตนหรือเป็น “อำานาจ” ที่บุคคลซึ่งมิได้มีตำาแหน่งหน้าที่ทางราชการมีหรือสามารถใช้ได้
                  กล่าวคือ “อิทธิพล” คือ “อำานาจ” ที่ไม่เป็นทางการ เพราะฉะนั้นการกล่าวว่า “นักเลง” เป็นผู้มี “อิทธิพล”

                  ในท้องถิ่น จึงหมายถึงบุคคลบางคนที่มีอุปนิสัยประจำาตัวบางอย่างที่ทำาให้บุคคลดังกล่าวสามารถมีอำานาจ
                  ที่ไม่เป็นทางการเหนือผู้อื่นในชุมชนนั้นๆ โดยสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางวัฒนธรรมมากกว่าเหตุผลทาง

                  เศรษฐกิจ กล่าวคือบทบาทในทางเศรษฐกิจของนักเลงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น อาจจะไม่แตกต่างอะไรกัน
                  มากนักจากสมาชิกคนอื่นๆ ของชุมชน แต่เงื่อนไขสำาคัญที่จำากัดขอบข่ายของนักเลงคือ การที่นักเลงยังมี

                  อิทธิพลจำากัดอยู่เฉพาะภายในกลุ่มสมัครพรรคพวกของตนเอง หาได้มีอิทธิพลเหนือผู้ถือกฎหมายไม่
                  แต่เมื่อใดก็ตามที่อิทธิพลของนักเลงในระดับท้องถิ่นแผ่ขยายไปครอบงำาเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้รักษากฎหมาย

                  หรือกลไกแห่งอำานาจรัฐในระดับสูงของท้องถิ่นด้วยแล้ว เมื่อนั้นอาจกล่าวได้ว่าบุคคลดังกล่าวได้เลื่อน
                  ฐานะจากนักเลงผู้มีอิทธิพลของท้องถิ่นกลายเป็น “เจ้าพ่อ” ของท้องถิ่นนั้นๆ ไปเสียแล้ว


                          ในยุคปัจจุบัน กรอบแนวคิดเรื่องอุปถัมภ์อาจมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับความสัมพันธ์

                  ในเชิง “เจ้าพ่อ” โดยเฉพาะในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทยที่ “เจ้าพ่อ” มักจะกลายเป็นนักการเมืองถิ่นด้วย
                  อาทิ จังหวัดในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด เป็นต้น ดังที่สมบัติ จันทรวงศ์

                  (2535,121-122) กล่าวว่า “บรรดาเจ้าพ่อทั้งหลาย สามารถมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลไกแห่ง
                  อำานาจรัฐมีอยู่หลายวิธีด้วยกันในจำานวนวิธีนี้วิธีการที่ใช้ได้ผลหรืออย่างน้อยที่สุดก็ดูเป็นวิธีการที่ดูเหมือนว่า

                  จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็โดยการอาศัยอำานาจเงินเกื้อหนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงสุด
                  เท่าที่จะทำาได้ โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เจ้าพ่อมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับล่างได้อย่างไม่ยากนัก

                  แต่เจ้าพ่อปรารถนาที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงด้วย เพราะยังมีข้อแตกต่างประการ
                  สำาคัญอีกประการหนึ่งระหว่างบุคคลผู้มีอิทธิพลระดับเจ้าพ่อและนักเลงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นนั้นก็คือ

                  เจ้าพ่อมีบทบาทและฐานะทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าและแตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดจากชาวบ้าน
                  ธรรมดาและธุรกิจประเภทดังกล่าวจำาเป็นต้องได้รับการคำ้าจุนจากอำานาจรัฐเพื่อคุ้มครองตนเองหรือเพื่อ

                  การขยายฐานออกไป รวมทั้งความแตกต่างระหว่างบุคคลระดับเจ้าพ่อกับนักเลงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
                  ธรรมดาๆ ทำาให้อิทธิพลที่นักเลงและเจ้าพ่อมีเหนือชาวบ้านมีลักษณะแตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ

                  ในขณะที่นักเลงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น อาจแสดงบทบาทการเป็นผู้นำาด้วยการอุปถัมภ์ประชาชนด้วยเรื่อง
                  ต่างๆ ตามเหตุผลทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แต่ผู้มีอิทธิพลระดับเจ้าพ่อจะแสดงบทบาทของ

                  ผู้อุปถัมภ์ประชาชนของตนในลักษณะที่กว้างขวางกว่ามาก
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59