Page 53 - kpiebook63014
P. 53
52 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
ระบบอุปถัมภ์ในวงกว้าง
อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ขยายขอบเขตกว้างไกลกว่าที่จะ
จำากัดอยู่เฉพาะในชุมชนหรือในชนบทเท่านั้น ระบบอุปถัมภ์ยังมีความสำาคัญในการช่วยเชื่อมโยงโครงสร้าง
อำานาจระหว่างชนบทและเมือง และเป็นลู่ทางของการแสวงหาผลประโยชน์ (แอนโทนี่ ฮอลล์, 2543, 33)
ใน “สังคมที่ก�าลังพัฒนา” เส้นสายของความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์สามารถ
เชื่อมโยงบุคคลที่มีสถานภาพตำ่าไปจนถึงบุคคลระดับชาติ โดยไม่จำาเป็นต้องผูกติดอยู่กับระบบราชการที่
ค่อนข้างเข้มงวดเกินไป ในขั้นต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้อุปถัมภ์ตามประเพณีอาจสามารถช่วยเหลือ
ผู้รับอุปถัมภ์ของตนในการติดต่อกับระบบราชการ ทั้งนี้ โดยเหตุที่เจ้าที่ดิน (ผู้อุปถัมภ์) มีความสามารถ
ที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกันหรืออาจเป็นเพราะตนเองเป็นผู้รับอุปถัมภ์ของผู้อุปถัมภ์ที่มี
อำานาจมากกว่าต่อๆ กันไปจนถึงระดับชาติ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้ว ผู้อุปถัมภ์ตามประเพณีที่มีบทบาท
ในหลายๆ ด้าน (เช่นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง) จะถูกแทนที่โดยผู้อุปถัมภ์ที่มีอำานาจเฉพาะด้าน
และจำากัดอยู่เฉพาะในระบบราชการ หรือองค์การต่างๆ เช่นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และครู เป็นต้น
(แอนโทนี่ ฮอลล์, 2543,33)
เครือข่ายของระบบอุปถัมภ์ได้กลายมาเป็นวิธีการที่พรรคการเมืองใช้ในการหาคะแนนเสียงใน
ชนบท ผู้รับอุปถัมภ์ในทางการเมืองมักจะถูกพรรคการเมืองใช้ให้เป็นหัวคะแนน โดยอาจให้ผลตอบแทน
แก่ผู้รับอุปถัมภ์ เช่นการให้สัญญาในการปฏิรูปที่ดินเพื่อแลกเปลี่ยนกับคะแนนเสียง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง
กับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
ระบบอุปถัมภ์กับ “เจ้าพ่อ”
คำาว่า “เจ้าพ่อ” ก็เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์เช่นกัน ซึ่งมักจะ
ใช้อำานาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องต่อสาธารณชน พวกนี้จะมีลูกน้องที่อาจเป็นนักเลงหรือมือปืนที่เป็น
ผู้รับอุปถัมภ์ซึ่งพร้อมที่จะรับใช้นายคือ “เจ้าพ่อ” ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ หรือก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนต่อประชาชนที่อยู่ในท้องที่ได้
ความสัมพันธ์แบบ “เจ้าพ่อ” นั้น ถึงแม้จะเป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ แต่ก็เป็นการอุปถัมภ์
กับคนที่เป็นลูกน้องตนเท่านั้น โดยทั่วไปชาวบ้านมักจะถูกเอาเปรียบ โดยเฉพาะในกรณีของอิทธิพล
ของบ่อนการพนันและสถานเริงรมย์ต่างๆ ที่มีการเรียกค่าคุ้มครอง “เจ้าพ่อ” จะได้รับการคุ้มครองจาก
เจ้าหน้าที่บ้านเมืองด้วย ทำาให้การเอารัดเอาเปรียบประชาชนเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น (อมรา
พงศาพิชญ์ และ ปรีชา คุวินทร์พันธุ์.2543, 6)