Page 30 - kpiebook63014
P. 30

29









                                                 บทที่ 2





























                  แนวคิดและทฤษฎี



                          ในบทนี้จะเป็นการนำาเสนอแนวคิดที่ใช้เป็นกรอบในการอธิบายและทำาความเข้าใจต่อระบบ
                  การเลือกตั้งกับการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ผลประโยชน์และเครือข่ายอุปถัมภ์ในการเลือกตั้ง

                  ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดระบบการเลือกตั้ง ความตั้งมั่นทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และแนวคิด
                  ระบบอุปถัมภ์






                          ระบบการเลือกตั้ง (electoral systems)


                          ระบบการเลือกตั้งมีความสำาคัญในฐานะเป็นกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างความนิยมของ

                  ประชาชนเข้ากับทางเลือกนโยบายที่กำาหนดโดยรัฐบาล การเลือกตั้งเป็นส่วนสำาคัญของการคัดเลือก
                  การคงอยู่ และการสืบทอดอำานาจทางการเมืองสำาหรับบรรดานักการเมือง เนื่องจากในทุกๆ สังคมไม่ว่า

                  จะเป็นสังคมขนาดเล็กไปจนถึงสังคมขนาดใหญ่ การมีอยู่ของรัฐบาลคือภาพสะท้อนการเป็นตัวแทนของ
                  ประชาชน เพราะในสภาพการณ์ปัจจุบันที่มีประชากรจำานวนมาก ส่งผลให้การเข้าไปบริหารงานทางการเมือง

                  โดยตรงจากประชาชนอาจเป็นไปไม่ได้ จึงมีการมอบหมายภารกิจการตัดสินใจเชิงสาธารณะให้กับ
                  ผู้แทนที่เลือกเข้าไปทำาหน้าที่ ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยผู้แทนเหล่านี้คือคนที่ประชาชนเลือกเข้าไปเป็น

                  ตัวแทนของตนในการใช้อำานาจอธิปไตย


                          นอกจากนั้น การเลือกตั้งมีความสำาคัญหลายประการ ในประการแรก การเลือกตั้งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
                  ไม่ได้หมายความว่าจะสมบูรณ์โดยตัวเอง แต่การเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35