Page 91 - kpiebook63013
P. 91

91








                  พื้นที่เขตอำาเภอเมืองและไม่ใช่เขตอำาเภอเมือง เป็นต้น) แต่พบว่าปัจจัยภายในต่างหากที่สามารถอธิบาย

                  พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มากกว่า ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บ่งชี้
                  ชัดเจนว่า ประชาชนในทุกเขตเลือกตั้งส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพรรคการเมืองมาอย่างยาวนาน มีความชื่นชอบ

                  ในตัวผู้สมัครบางคนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งด้วยซำ้า มีความโน้มเอียงที่จะนิยมในพรรคการเมืองบางพรรคการเมือง
                  อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามแนวคิดของสำานักจิตวิทยาสังคม






                  4.2 บทวิเครำะห์ระหว่ำงกำรเลือกตั้ง



                          ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

                          1. กำรรับรู้ข้อมูลของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง



                          1.1 การรับรู้ข้อมูลการเลือกตั้งจากช่องทางออฟไลน์


                          ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้รับทราบข้อมูลของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองต่าง ๆ จากช่องทาง
                  ออฟไลน์หลายช่องทาง เช่น การออกเดินสายพบปะของผู้สมัคร การรับฟังเสียงจากรถแห่ การรับชมทางโทรทัศน์

                  การรับฟังทางวิทยุ การเข้าฟังเวทีปราศรัย รวมถึงการพูดคุยกันกับญาติ เพื่อน พระ อิหม่าม ครูอาจารย์ ข้าราชการ
                  เป็นต้น) ช่องทางใดบ้าง


                          เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความสนใจต่อการออกเดินสายพบปะประชาชน
                  ของผู้สมัครมากที่สุด ส่วนการรับฟังเสียงจากรถแห่ และวิทยุท้องถิ่นท้องถิ่นมีจำานวนน้อยกว่า ขณะที่การรับชม

                  ผู้นำาของพรรคการเมืองจากทางโทรทัศน์ประชาชนก็ให้ความสนใจ ประชาชนบางส่วนสนใจเข้าร่วมรับฟังใน

                  เวทีปราศรัยของพรรคการเมืองที่ตนเองสนใจด้วย เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่
                  ให้ความสนใจต่อการออกเดินสายพบปะประชาชนของผู้สมัครมากที่สุด ส่วนการรับฟังเสียงจากรถแห่ ใบปลิว
                  และการติดป้ายโฆษณาของผู้สมัครประชาชนให้ความสนใจในจำานวนที่น้อยลงมา มีจำานวนน้อยมากที่ให้

                  ความสนใจเข้าร่วมฟังในเวทีปราศรัยของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่

                  ให้ความสนใจกับการการออกเดินสายพบปะประชาชนของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากที่สุด รองลงมาคือการให้
                  ความสนใจกับรถแห่ ใบปลิว และการประชาสัมพันธ์ตัวเองของผู้สมัครทางวิทยุ และโทรทัศน์ เขตเลือกตั้งที่ 4
                  พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสนใจการประชาสัมพันธ์ตัวเองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งผ่าน

                  การใช้รถแห่มากที่สุด รองลงมาคือให้ความสนใจต่อการใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ การแจกแผ่นพับใบปลิว การลงพื้นที่

                  พบปะประชาชนของผู้สมัคร ส่วนการออกรายการวิทยุ และโทรทัศน์ประชาชนให้ความสนใจน้อย เขตเลือกตั้งที่ 5
                  พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสนใจต่อการประชาสัมพันธ์ด้วยรถแห่ ป้ายหาเสียง ใบปลิว
                  การออกรายการโทรทัศน์ และการลงพื้นที่พบปะประชาชนของผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้ง ขณะที่บางส่วนให้

                  ข้อมูลว่าสนใจผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้งจากการพูดคุยกันในเครือญาติ และการเข้าร่วมฟังในเวทีปราศรัยของ
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96