Page 90 - kpiebook63013
P. 90
90 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พฤติกรรมของตัวกระท�าทางการเมืองในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 6
จากการสัมภาษณ์พบว่าสถานการณ์และบรรยากาศในช่วงก่อนการเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 6 นั้น
ค่อนข้างเป็นบรรยากาศที่มีเสรีภาพและเอื้อต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลว่ากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่ (กลุ่มคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ) ไม่มีการเคลื่อนไหว
กดดันหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน
ยังระบุตรงกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ไม่พบว่ามีผู้สมัครหรือหัวคะแนนใช้เงินในการจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัครคนใด
คนหนึ่ง ประกอบกับผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน ยังให้ข้อมูลอีกว่าไม่พบการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์หรือการกระทำาใด
(ที่ไม่ใช่ตัวเงิน) เพื่อจูงใจให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐทั้งที่เป็นข้าราชการในพื้นที่
และข้าราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งโดยตรงนั้น
ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่าเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นวางตัวและทำาหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง
มีการสนับสนุนรณรงค์ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้งและปฏิบัติตนไปตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
สำาหรับรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลตรงกันว่าการเลือกตั้ง
ครั้งนี้ ผู้สมัครของแต่ละพรรคก็ได้ใช้รูปแบบวิธีหาเสียงแบบเดิมและไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละพรรค กล่าวคือ
ใช้รถแห่ ใบปลิว แผ่นป้าย การปราศรัย แต่วิธีการที่เพิ่มเข้ามาและแตกต่างจากการหาเสียงในการเลือกตั้ง
ครั้งก่อน ๆ (ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) ได้พบเห็นวิธีการหาเสียงดังกล่าวนี้) คือ การใช้สื่อ
ที่เรียกว่า Social Media ทั้ง Line, Facebook, การถ่ายทอดสด (live) โดยใช้แอพลิเคชั่น
ในประเด็นการตัดสินใจลงคะแนน ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ความเห็นว่าการใช้เงินจูงใจเพื่อให้เลือก
ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งไม่มีผลต่อการตัดสินใจ แต่จะพิจารณาจากการรู้จักกันเป็นการส่วนตัว การยึดมั่นใน
พรรคการเมืองมากกว่า ส่วนการจูงใจโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช้เงิน เช่น การจัดเลี้ยง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ความเห็นตรงกันว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนน้อย (10 เปอร์เซ็นต์)
แสดงความเห็นว่าหากมีผู้สมัครคนใดได้ทำาการอุปถัมภ์ช่วยเหลือตนเองหรือพี่น้องหรือคนในพื้นที่ของตนมา
โดยตลอด เขาจะตอบแทนโดยการเลือกผู้สมัครท่านนั้น โดยให้เหตุผลว่า “เลือก เป็นการตอบแทน” และ “เลือก
เพราะส่วนใหญ่จะดึง ๆ กันอยู่แล้ว” แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าแม้จะมีการช่วยเหลือ
อุปถัมภ์กันมา แต่หากจะให้เลือกจะต้องมีเงื่อนไขอื่นด้วย เช่น “ถ้าเป็นพี่น้องก็จะเลือก” “ถ้าเป็นคนดีก็จะเลือก”
“ไม่เลือก เพราะดูนโยบายพรรคเป็นหลัก” “ถ้าเลี่ยงได้จะเลี่ยง แต่ถ้าสังกัดพรรคที่เราชอบก็เลือก” “ถ้านโยบาย
ไม่ดีก็ไม่เลือก”
จากการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมทางการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้งของประชาชนทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่าปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไม่ได้เป็นตัวกำาหนด
พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนมากนัก (ดังเช่นพฤติกรรมและทัศนะทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่
เขตเมืองที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าพื้นที่อื่นก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเขตเลือกตั้งอื่นที่เหลือกมากนัก
หรือ การใช้เงินหรือสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่เงินก็ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนทั้งใน