Page 92 - kpiebook63013
P. 92
92 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ลงสมัคร เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสนใจการประชาสัมพันธ์ด้วย
ป้ายหาเสียง การใช้แผ่นพับใบปลิว และการโฆษณาตัวผู้สมัครและพรรคการเมืองทางโทรทัศน์ รองลงมาคือ
การเข้าร่วมรับฟังการปราศรัยของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่มาเปิดเวที
1.2 การรับรู้ข้อมูลการเลือกตั้งจากช่องทางออนไลน์
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้รับทราบข้อมูลของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองต่าง ๆ จากช่องทาง
ออนไลน์ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น YOUTUBE FACEBOOK INSTAGRAM LINE TWITTER เป็นต้น ช่องทางใดบ้าง
เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่สนใจการประชาสัมพันธ์ตัวเองของผู้สมัคร
ผ่านช่องทางออนไลน์ทุกช่องทาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นช่องทาง FACEBOOK, YOUTUBE, LINE และ INSTAGRAM
เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์
แต่มีส่วนน้อยที่ให้ข้อมูลว่าได้รับการประชาสัมพันธ์การลงสมัครรับการเลือกตั้งของผู้สมัครผ่านช่องทาง FACEBOOK
เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่สนใจการประชาสัมพันธ์ของลงสมัครรับเลือกตั้งใน
ช่องทาง FACEBOOK มากที่สุด ส่วนช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ LINE, YOUTUBE, INSTAGRAM, TWITTER ประชาชน
ให้ความสนใจในลำาดับรองลงมา เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่สนใจการประชาสัมพันธ์
ของลงสมัครรับเลือกตั้งในช่องทางออนไลน์ ได้แก่ FACEBOOK และ LINE มีผู้ให้ข้อมูลหลายคนบอกว่าติดตาม
หลายช่องทาง แต่ก็มีผู้ให้ข้อมูลบางคนบอกว่าไม่ได้ให้ความสนใจการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์เลย
เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่สนใจการประชาสัมพันธ์ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ในช่องทาง FACEBOOK และ YOUTUBE มากที่สุดแต่มีผู้ให้ข้อมูลบางคนไม่ได้สนใจติดตามการประชาสัมพันธ์
ผ่านช่องทางออนไลน์ เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่สนใจการประชาสัมพันธ์ของ
ลงสมัครรับเลือกตั้งในช่องทาง LINE มากที่สุด รองลงมาคือ FACEBOOK, YOUTUBE
2. ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งใช้ข้อมูลใดในกำรตัดสินใจเลือกตั้ง
2.1 ตัวผู้สมัคร / วงศ์ตระกูล
เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับตัวผู้สมัครในเรื่องความรู้
และประสบการณ์ การสังกัดพรรคการเมือง และพิจารณาจากวงศ์ตระกูลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประกอบกัน
ไปด้วย เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับตัวผู้สมัครว่าตนเองสามารถ
เชื่อมโยงกับตัวผู้สมัครได้อย่างไรบ้าง เช่น ความเป็นเพื่อน ความเป็นญาติ และพิจารณาจากผลงานในอดีตของ
วงศ์ตระกูลของผู้สมัครที่เคยเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในอดีตประกอบกันด้วย เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับตัวผู้สมัคร ในเรื่องความรู้ความสามารถ ขณะที่บางส่วนไม่ได้พิจารณา
ถึงตัวผู้สมัครหรือวงศ์ตระกูลของผู้สมัครเลย เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่
ให้ความสำาคัญกับตัวผู้สมัครเป็นสำาคัญโดยไม่ให้ความสนใจต่อวงศ์ตระกูลของตัวผู้สมัครเลย เขตเลือกตั้งที่ 5