Page 95 - kpiebook63013
P. 95

95








                          2.6 รายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองนั้นเสนอมา


                          เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี

                  ที่พรรคการเมืองนั้นเสนอมาเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้งด้วย เช่น ให้ข้อมูลว่าต้องเป็นชื่อที่คุ้นหู
                  เป็นชื่อที่เชื่อได้ว่ามีประสบการณ์ในการทำางานจริง เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่

                  ไม่ให้ความสนใจกับรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองนั้นเสนอมา ส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสำาคัญ
                  ในเรื่องนี้ เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี

                  ที่พรรคการเมืองนั้นเสนอมา ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ให้ความสำาคัญในเรื่องนี้ เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ประชาชน
                  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองนั้นเสนอมา มีการระบุชื่อ

                  ของว่าที่นายกรัฐมนตรีที่ตัวเองสนใจลงมาด้วย ขณะที่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ให้ความสำาคัญในเรื่องนี้
                  เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกึ่งหนึ่งให้ความสนใจกับรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมือง

                  นั้นเสนอมา ส่วนอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ให้ความสำาคัญกับเรื่องนี้ เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
                  ที่ให้ข้อมูลมาทั้งหมดให้ความสนใจกับรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองนั้นเสนอมา


                          2.7 ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง


                          เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าความสัมพันธ์ส่วนตัวกับ

                  ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่มีผล ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสำาคัญกับเรื่องนี้
                  เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลว่าความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ลงสมัคร
                  รับเลือกตั้งไม่มีผลต่อการนำามาตัดสินใจ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสำาคัญในเรื่องนี้ เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า

                  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ให้ข้อมูลมาทั้งหมดให้ข้อมูลว่าความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่มีผล

                  ต่อการนำามาตัดสินใจ เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลว่าความสัมพันธ์
                  ส่วนตัวกับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่มีผลต่อการนำามาตัดสินใจ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสำาคัญในเรื่องนี้
                  โดยพิจารณาจากความเป็นเครือญาติกัน เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลว่า

                  ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่มีผลต่อการนำามาตัดสินใจ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสำาคัญใน

                  เรื่องนี้ โดยพิจารณาจากความเป็นเครือญาติกัน และการที่ผู้ลงสมัครเคยลงพื้นที่ก่อนจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้ง
                  เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
                  มีผลต่อการนำามาใช้ตัดสินใจเลือกตั้งด้วย


                          จากข้อมูลข้างต้น พบว่าสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีนำาไปพิจารณาเพื่อประกอบ

                  การตัดสินใจลงคะแนนเสียงนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิดของสำานักจิตวิทยาสังคม สำาหรับปัจจัยทางด้าน
                  จิตวิทยาสังคมที่เห็นได้ชัดเจนคือการให้ความสำาคัญกับความเก่าแก่และการมีชื่อเสียงมาก่อนของพรรคการเมือง

                  (ซึ่งแน่นอนว่า ในอีกด้านหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองที่เพิ่งก่อตั้งหรือ
                  ผู้ลงสมัครหน้าใหม่มากนัก) การตัดสินใจลงคะแนนจึงไม่ได้พิจารณาไปที่ตัวบุคคลแต่เพียงเท่านั้น แต่จะ

                  ต้องมองไปถึงพรรคที่บุคคลนั้นสังกัดด้วย และด้วยเหตุที่ความนิยมในพรรคมีความสำาคัญ การเสนอรายชื่อ
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100