Page 93 - kpiebook63013
P. 93
93
พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับตัวผู้สมัครว่ามีความรู้ความสามารถในเรื่องใด พิจารณา
จากการลงพื้นที่ให้เห็นหน้าค่าตากันบ้างหรือไม่ ลงพื้นที่มาบ่อยแค่ไหน และพิจารณาจากการพูดถึงตัวผู้สมัคร
จากเครือญาติตนเองด้วย เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับ
ตัวผู้สมัคร และพิจารณาจากวงศ์ตระกูลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประกอบกันไปด้วย ขณะที่ส่วนน้อยที่ไม่สนใจ
ตัวผู้สมัครหรือวงศ์ตระกูลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเลย
2.2 นโยบายของพรรคการเมือง ในเรื่องใด
เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ
มากที่สุด เช่น นโยบายค่าแรงขั้นตำ่า 400 บาทต่อวัน และปริญญาตรีขั้นตำ่า 18,000 บาท นโยบายเพิ่มเงิน
ผู้สูงอายุเป็นเดือนละ 1,000 บาท นโยบายแก้จน สร้างคน สร้างชาติ และการแก้ไขปัญหาราคายางพารา และ
ปาล์มนำ้ามัน เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำาคัญกับนโยบายของ
พรรคการเมืองที่นำาเสนอมา ส่วนประชาชนที่สนใจนโยบายจะให้ความสำาคัญกับนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ
มากที่สุด เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ
เช่น การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลำ้าของรายได้ การแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกตำ่า ได้แก่ ยางพารา
ปาล์มนำ้ามัน รวมถึงการอนุญาตให้มีการปลูกกัญชาให้ถูกต้องตามกฎหมาย เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ เช่น นโยบายลดค่าครองชีพ นโยบายด้าน
แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกตำ่า รองลงมา
คือนโยบายด้านการศึกษา นโยบายด้านการจัดสรรที่ดินทำากิน เป็นต้น เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ เช่น การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร
ตกตำ่า นโยบายการสร้างเศรษฐกิจดิจิตอล นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยี นโยบายประกันรายได้
ของแรงงาน นโยบายปลดหนี้เพิ่มค่าตอบแทนอาสาสมัครที่ทำางานให้หน่วยงานของรัฐ นโยบายการลด
ความเหลื่อมลำ้า นโยบายการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา นโยบายช่วยเหลือผู้ยากไร้ นโยบายประกันรายได้
เกษตรกร นโยบายด้านการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และการส่งเสริมสวัสดิการแห่งรัฐ เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ เช่น การแก้ปัญหาคนจน นโยบาย
การให้การดูแลสุขภาพ เป็นต้น
2.3 ความเก่าแก่ หรือความมีชื่อเสียงของพรรค
เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญกับความมีชื่อเสียงของ
พรรค ความเก่าแก่ของพรรคการเมือง เพราะเคยมีการสร้างผลงานที่ดีไว้ในอดีต แต่ส่วนน้อยเท่านั้นที่เห็นว่า
ความเก่าแก่และชื่อเสียงของพรรคการเมืองนั้นไม่มีผลใด ๆ ต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำาคัญกับความเก่าแก่ หรือความมีชื่อเสียงของพรรค มีส่วนน้อย
ที่เห็นว่าความเก่าแก่ หรือความมีชื่อเสียงของพรรคมีผลต่อการตัดสินใจเลือกในครั้งนี้ เขตเลือกตั้งที่ 3
พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำาคัญกับความเก่าแก่ หรือความมีชื่อเสียงของพรรค