Page 96 - kpiebook63013
P. 96

96    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             ว่าที่นายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรคการเมืองแต่ละพรรคจึงมีผลต่อการนำาไปพิจารณาตัดสินใจของประชาชนด้วย

             ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนในแง่ของการพิจารณานโยบายของแต่ละพรรคการเมือง พบว่า
             ประชาชนทุกเขตเลือกตั้งให้ความสำาคัญกับนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ โดยประชาชนในเขตเมืองจะสนใจนโยบาย

             เกี่ยวกับค่าแรงขั้นตำ่า หรือ การประกันรายได้สำาหรับผู้เรียนจบปริญญาตรี ขณะที่ประชาชนในเขตเลือกตั้งอื่น
             นอกเขตอำาเภอเมืองก็มีความสนใจนโยบายเศรษฐกิจเช่นกันแต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการประกันราคาพืชผล

             การเกษตร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแทบทุกพรรคการเมืองต่างก็ได้นำาเสนอนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน
             การเปรียบเทียบระหว่างนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองจึงไม่ได้มีความแตกต่างในแง่ผลประโยชน์ที่แต่ละบุคคล

             จะได้รับมากนัก เมื่อถึงคราวตัดสินใจเลือกประชาชนจึงพิจารณาจากปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมมากกว่า ดังนั้น
             การที่ประชาชนสามารถจดจำานโยบายทางด้านเศรษฐกิจของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งได้จึงไม่ได้

             เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบแบบที่สำานักทางเลือกสาธารณะอธิบายไว้ แต่เป็นผลมาจากความนิยมชมชอบ
             ในพรรคการเมืองนั้นอยู่ก่อนแล้วมากกว่า





                     3. ลักษณะกำรตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง



                      3.1 การตัดสินใจด้วยตนเอง หรือ ปรึกษาผู้อื่น (ใครที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ)


                      เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตัวเอง มีส่วนน้อยเท่านั้น
             ที่มีการปรึกษาคนในครอบครัว เช่น พ่อแม่พี่น้องก่อนตัดสินใจเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่าประชาชนผู้มีสิทธิ

             เลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตัวเอง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการปรึกษาหารือกับญาติพี่น้องก่อนการตัดสินใจ
             เขตเลือกตั้งที่ 3 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตัวเอง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการปรึกษาผู้อื่น

             ก่อนการตัดสินใจ เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตัวเอง มีส่วนน้อย
             เท่านั้นที่มีการปรึกษากับผู้อื่น เช่น เพื่อนบ้าน เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจ

             ด้วยตัวเอง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการปรึกษาผู้อื่น เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เครือญาติ และเพื่อน เขตเลือกตั้งที่ 6
             พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตัวเอง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการปรึกษาคนในครอบครัว


                      3.2 การตัดสินใจเลือกตั้งผู้สมัครในวันนี้ เป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นมาล่วงหน้าหรือไม่ ถ้าตัดสินใจ

             มาแล้วล่วงหน้า ค�าว่าล่วงหน้านั้นนานเท่าใด เพราะเหตุผลใด


                      เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน
             ตั้งแต่ผู้สมัครออกพบปะประชาชนก็ติดตามผู้สมัครรายนั้นเรื่อยมา เพราะชอบนโยบายของพรรคการเมืองนั้น

             แบบไม่เปลี่ยนใจ บ้างชอบพรรคการเมืองนั้นอยู่เดิมแล้ว เลยตัดสินใจล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มมีการออกหาเสียงแล้ว
             ขณะที่มีบางคนตัดสินล่วงหน้าในช่วงก่อนวันเลือกตั้งเพียงวันเดียวเท่านั้น เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ประชาชน

             ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจมานานแล้วนับตั้งแต่ทราบว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะชอบพรรคการเมืองนี้
             อยู่เดิมแล้ว หรือทราบว่าคนที่ตนเองสนับสนุนจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนน้อยที่ตัดสินใจก่อนหน้าเลือกตั้งประมาณ
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101