Page 98 - kpiebook63013
P. 98

98    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             เลือกตั้งส่วนใหญ่เชื่อว่าการตัดสินใจเลือกตั้งไปแล้วจะส่งผลทำาให้เศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนน้อยก็เชื่อว่าเป็นเพียง

             การไปเลือกตั้งตามหน้าที่ไม่ค่อยมีความหวังกับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใด เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า
             ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ทำาให้ราคา

             พืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น และเชื่อว่าประเทศจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยได้ดีขึ้น เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า
             ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมา

             คือเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นสัญญาณของการพัฒนาการเมืองในระอบประชาธิปไตยต่อไป เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า
             ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

             แต่จะเปลี่ยนไปได้มากน้อยขนาดไหนขึ้นอยู่กับผลการเลือกตั้งที่ออกมา เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า ประชาชน
             ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น


                        จากข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจของประชาชนในทุกเขตเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

             พบว่าสอดคล้องกับการวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ กล่าวคือ ปัจจัยภายในมีผลมากกว่าปัจจัยภายนอก การตัดสินใจ
             ของประชาชนตั้งอยู่บนฐานการพิจารณาด้วยตัวของเขาเองมากกว่าถูกกำาหนดโดยตำาแหน่งแห่งที่ทางเศรษฐกิจ

             และสังคมที่ตัวเขาสังกัดอยู่ โดยมีลักษณะเฉพาะชัดเจนคือเป็นการพิจารณาที่ไม่ได้อยู่บนหลักการตัดสินใจแบบ
             เชิงเหตุผล (Rational Model) แต่เป็นการตัดสินใจที่มี “ความโน้มเอียง” บางอย่าง (สอดคล้องกับคำาอธิบายของ

             สำานักจิตวิทยาสังคม) นั่นคือ ความรู้สึกผูกพันกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว ดังที่พบจาก
             ข้อมูลการสัมภาษณ์ที่ว่าประชาชนได้ทำาการตัดสินใจล่วงหน้ามานานแล้วว่าต้องการจะเลือกใครและการตัดสินใจ

             ดังกล่าวนั้นนับตั้งแต่วันที่ได้ตัดสินใจไปแล้วจวบจนกระทั่งวันเลือกตั้งไม่มีการเปลี่ยนใจแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้
             เห็นว่า ความผูกพันต่อพรรคการเมืองค่อนข้างมีความแนบแน่นเป็นอย่างมาก




                     ข้อมูลกำรสังเกตแบบมีส่วนร่วม



                      ผู้วิจัยได้ส่งผู้ช่วยวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการเข้าไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมบริเวณคูหาเลือกตั้ง
             ของแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยใช้วิธีการเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง ได้ผลการวิจัยตามรายละเอียดดังนี้


                      1. การท�างานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง


                      1.1 การปิดประกาศรายชื่อผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีความครบถ้วน เห็นได้ชัดเจนหรือไม่


                      เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า การปิดประกาศมีความครบถ้วน เห็นได้ชัดเจนในระดับสายตาทุกเบอร์

             สามารถมองเห็นชื่อผู้สมัครกับชื่อพรรคการเมืองได้อย่างชัดเจน เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า มีการปิดประกาศรายชื่อ
             ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครบถ้วน แต่ไม่มีป้ายไวนิลแนะนำาผู้สมัครมีแต่เอกสารรายชื่อผู้สมัครให้เท่านั้น เขตเลือกตั้งที่ 3
             พบว่า มีการปิดประกาศรายชื่อผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างครบถ้วน เห็นได้ชัดเจน แต่รายชื่อผู้สมัครที่ถูก

             ยุบพรรคอย่างพรรคไทยรักษาชาติยังมีการแสดงให้เห็นอยู่ไม่มีการปิดใด ๆ มีแค่กรรมการการเลือกตั้งบอกว่า

             ห้ามกา เพราะกาเท่ากับเป็นบัตรเสีย เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า การปิดรายชื่อผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103