Page 103 - kpiebook63013
P. 103
103
แต่ในพื้นที่ก่อนเข้าคูหาไม่มีการพูดถึงว่าจะเลือกผู้สมัครรายใด พรรคการเมืองไหน มีเพียงการพิจารณาข้อมูลจาก
ป้ายไวนิลที่มีรายละเอียดของผู้สมัครเท่านั้น พรรคการเมืองที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์
เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่ามีการพูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ในทางที่ดีกันมาก ขณะที่พูดถึงพรรคอื่นในด้านลบ
2.3 ในวันเลือกตั้งนี้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงเวลาต่าง ๆ
แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ช่วงเวลาใดที่มีคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด หรือน้อยที่สุด แบ่งเป็น ช่วงเช้า
ช่วงสาย ช่วงเที่ยง ช่วงบ่าย และช่วงเย็น
เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่าช่วงเช้าคนจะมาใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นจำานวนมาก แล้วค่อย ๆ ลดจำานวนลง
ในช่วงสายจนถึงเที่ยง และผู้ใช้สิทธิจะเพิ่มจำานวนขึ้นในช่วงบ่าย แต่จะค่อย ๆ น้อยลงจนกระทั่งถึงบ่ายสามโมงเย็น
จะมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยมาก เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า มีการเข้ามาใช้สิทธิเลือกตั้ง ช่วงประมาณ
10.00 – 13.00 น. มากกว่าช่วงอื่น นอกจากนั้นก็ค่อย ๆ ทยอยกันมาเรื่อย ๆ ทีละคนสองคน เขตเลือกตั้งที่
3 พบว่า ช่วงเช้าและช่วงสายมีคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด มาแบบตลอดเวลาไม่ขาดสาย ส่วนช่วงเที่ยงและ
ช่วงบ่าย มีคนค่อย ๆ ทยอยกันมาเรื่อย ๆ แบบปานกลาง ส่วนช่วงเย็นมีคนมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุด
เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ในวันเลือกตั้งประชาชนเดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงเช้ามากเป็นพิเศษ และ
ลดหลั่นกันมาตามช่วงเวลาของวัน ช่วงน้อยที่สุดคือช่วง 15.00 น. เนื่องจากมีฝนตกลงมา เขตเลือกตั้งที่ 5
พบว่า ไม่ค่อยมีความแตกต่าง ประชาชนจะเฉลี่ยกันมาใช้สิทธิและเป็นไปโดยความรวดเร็วไม่มีการต่อแถว
จนล้นพื้นที่ เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมารอก่อนเวลาจะเปิดคูหา จากนั้นค่อย ๆ มากันประปราย
และค่อย ๆ มากขึ้นในช่วงบ่ายจนถึงช่วงก่อนปิดหีบเลือกตั้ง
2.4 ในวันเลือกตั้งนี้ประชาชนมีการพูดถึงเงื่อนไขที่ท�าให้เกิดการตัดสินใจเลือกผู้สมัครบ้างหรือไม่
เช่น การตัดสินใจเลือกตั้งจากพรรคการเมืองที่รัก หรือผู้สมัครที่ใช่ หรือนโยบายที่ชอบ เป็นต้น หรือเหตุผล
ในการตัดสินใจอื่น ๆ ที่สามารถสังเกตและรับรู้ได้
เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนมีการพูดถึงนโยบายที่ชอบ แต่ประชาชนไม่ได้พูดถึงพรรคการเมืองใด
เป็นพิเศษ เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า มีการพูดกันว่า “ฝ่ายนี้เขาเลือกพรรคสุเทพกันทั้งนั้น พรรคสุเทพได้อยู่แล้ว”
เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า ประชาชนในรุ่นอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป คุณตาคุณยายพูดว่าสนับสนุนผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้งที่เป็นคนร่วมหมู่บ้านกัน ส่วนประชาชนในรุ่นคนทำางานและวัยรุ่นมีการพูดถึงพรรคประชาธิปัตย์และ
พรรคอนาคตใหม่มากที่สุด เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า ในวันเลือกตั้งประชาชนมีการพูดถึงเงื่อนไขที่ทำาให้ตัดสินใจ
เลือกผู้สมัคร คือ ตัดสินใจเลือกจากนโยบายที่ชอบ เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า มีการพูดถึงกันว่ามีพรรคการเมือง
ที่รัก จะกี่ครั้งก็จะเลือกพรรคนี้ โดยไม่ได้สนใจในตัวของนโยบาย เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า มีการพูดในลักษณะ
ไว้วางใจพรรคประชาธิปัตย์โดยไม่ได้พูดถึงนโยบายกันมากนัก