Page 107 - kpiebook63013
P. 107

107








                  เพราะฉะนั้นต้องมีการตอบแทน” “มีผล เพราะขนาดเราเป็นคนธรรมดา เขายังให้ความสำาคัญช่วยเหลือครอบครัว

                  ซึ่งก็มองว่าคนดีแบบนี้ควรได้มาบริหารในสังคม” “มีผล เพราะครอบครัวสำาคัญมาก ถ้าช่วยครอบครัว เราก็
                  ต้องทดแทนบุญคุณที่เข้ามาช่วยเหลือ” ส่วนการเข้ามาร่วมกิจกรรมกับคนในชุมชน เช่น เป็นประธานเปิดงาน

                  ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าไม่มีผลแต่อย่างใดและบางคนบอกว่า “ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ
                  เลือก เพราะมองว่าการที่เขาช่วยเหลือเงินทำาบุญไม่ได้รับประกันว่าเขาจะบริหารบ้านเมืองได้” “ไม่รู้สึกอะไรเลย”

                  “ไม่มีผล เพราะไม่ได้รู้สึกว่าจะนำาการช่วยเหลือตรงนี้มาเป็นเหตุผลในการตัดสินใจเลือก” อย่างไรก็ตาม
                  มีผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าการเข้าร่วมงานของชุมชนอาจมีผลหากผู้สมัครคนนั้นเข้าร่วม

                  งานบ่อยครั้งหรือพบเห็นได้ตลอดหรือเป็นญาติพี่น้อง ประกอบกับการร่วมงานของชุมชนเป็นการทำาเพื่อ
                  สาธารณะแสดงถึงความใส่ใจ เสียสละ และให้ความสำาคัญกับชุมชน


                          ดังนั้น สำาหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 การใช้เงินกับผู้ลงคะแนนเสียงโดยตรงไม่ได้เป็น

                  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ส่วนการช่วยเหลือหรือให้ประโยชน์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินค่อนข้างจะมีอิทธิพล
                  เพราะรู้สึกว่าเป็นบุญคุณที่ต้องทดแทน โดยเฉพาะหากมีการช่วยเหลือคนในครอบครัว และเมื่อได้สอบถาม

                  ถึงปัจจัยเรื่องคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัครก็พบว่าปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนน
                  เป็นอย่างมาก ได้แก่ ความเป็นญาติพี่น้องกัน ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนยอมรับว่าต้องสนับสนุนคนที่เป็นญาติพี่น้อง

                  “มีผล เพราะเราต้องสนับสนุนตระกูลของเรา ถึงแม้ไม่ชอบพรรคนั้น” “ส่งผล เพราะเขาเป็นญาติเราก็ต้อง
                  ให้การสนับสนุนญาติของเรา ถึงแม้ไม่ได้สนิทมาก” “มีผล เพราะเขาเป็นญาติเรา เราช่วยเหลือเขา เขาก็น่าจะ

                  ต้องช่วยเหลือเรากลับและส่งผลให้วงศ์ตระกูลเรามีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น” เป็นต้น ในขณะที่ความเป็นเพื่อนนั้น
                  ก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่นกัน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าความเป็นเพื่อนมีผลต่อ

                  การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพราะเป็นคนที่เรารู้จักและเราจะต้องช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อน เช่นเดียวกับ
                  การเคยเป็นข้าราชการในพื้นที่มาก่อน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่ามีผลต่อการตัดสินใจ

                  เพราะการเป็นข้าราชการและเคยอยู่ในพื้นที่มาก่อนแสดงให้เห็นถึงการมีประสบการณ์การทำางานในพื้นที่
                  “มีผล เพราะเราดูการทำางาน ทัศนคติ ความคิดจากการที่เคยทำางานร่วมกัน ส่วนหนึ่งคือความเกรงใจในฐานะ

                  ที่เคยร่วมงานกันมา” “มีผล เพราะเราสามารถดูจากประสบการณ์การทำางานของเขาได้ว่าทำางานอย่างไร
                  ประสบความสำาเร็จในอาชีพนั้นมากน้อยแค่ไหน”


                          นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลไม่ต่างจากความเป็นญาติพี่น้อง ความเป็นเพื่อน การเคยรับราชการใน

                  พื้นที่มาก่อน ก็คือ วุฒิการศึกษา อายุ และพรรคที่ผู้สมัครสังกัด กล่าวคือ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน (100 เปอร์เซ็นต์)
                  เห็นว่าวุฒิการศึกษาเป็นปัจจัยที่สำาคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนความรู้และความสามารถของ
                  ผู้สมัครได้ “ถ้าเขามีความรู้สูง มีวุฒิสูง ก็สามารถบริหารบ้านเมืองได้” “มองว่าคนยิ่งเรียนสูงขึ้น ความคิดความรู้

                  ก็มีมากกว่าคนธรรมดา มีต้นทุนชีวิตที่ดีกว่า ยิ่งจบสูงยิ่งสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ มีความสามารถต่าง ๆ

                  มากว่าคนที่เรียนจบน้อยกว่า” “เลือกคนที่มีความรู้ สามารถนำาความรู้ไปพัฒนาประเทศได้ ยิ่งเรียนสูง ยิ่งมี
                  ความคิดใหม่กว่า” ซึ่งสำาหรับการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะไม่ได้มีการกำาหนดวุฒิการศึกษาขั้นตำ่าไว้ด้วยเหตุผลที่จะ
                  เปิดกว้างและให้โอกาสกับผู้ที่สนใจงานการเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112