Page 109 - kpiebook63013
P. 109

109








                          2 ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อพฤติกรรมการทุจริตเลือกตั้ง


                          ต่อคำาถามที่ว่า ถ้าในอนาคตท่านพบเห็นการทุจริตการเลือกตั้ง ท่านจะคิดและดำาเนินการอย่างไร

                  ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนระบุตรงกันว่าไม่ยอมรับการทุจริต โดยทั้งหมด (100 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าสิ่งที่ทำาได้คือ
                  ไม่ยอมรับและจะไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครที่ทำาการทุจริตเลือกตั้ง แต่จะไม่ไปแจ้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง

                  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำารวจ ทหาร กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่นำาเรื่องทุจริตไปแจ้งสื่อมวลชน ไม่บอกเล่าเรื่องนี้
                  ให้คนใกล้ชิดฟัง และไม่โพสต์เรื่องราวที่ตนพบเจอ โดยให้แหตุผลว่า “เราก็ไม่สามารถจัดการหรือดำาเนินการอะไร

                  ก็เปล่าประโยชน์ เราแค่ประชาชนธรรมดา เราไม่สามารถทำาอะไรได้” “เพราะว่าต่อให้เราดำาเนินการใด ๆ ไป
                  สุดท้ายคนที่มีอำานาจก็ใช้อำานาจปิดบังความผิดอยู่ดี” “เนื่องจากในระบอบการปกครองสังคมไทยปัจจุบัน

                  ทำาให้ประชาชนไม่กล้าที่จะดำาเนินการใด ๆ อยู่นิ่งเฉย ๆ ดีกว่า” จากคำาตอบของผู้ให้สัมภาษณ์แสดงว่า ประชาชน
                  ไม่ยอมรับการทุจริตการเลือกตั้ง แต่การจะให้ประชาชนช่วยจับตาหรือมีส่วนร่วมในการรายงานการทุจริต

                  เลือกตั้งนั้นอาจจะไม่ประสบผลสำาเร็จมากนัก เนื่องจากประชาชนรู้สึกตัวเองว่ายังไม่อยู่ในสถานะที่จะทำา
                  เรื่องนั้นได้และอาจส่งผลกระทบต่อตัวเอง


                          3 ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อผลการเลือกตั้ง


                          จากข้อมูลก่อนการเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนเชื่อมั่นในการทำาหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

                  ในเขตเลือกตั้ง ทั้งในแง่ของการวางตัวเป็นกลาง การรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ แต่หลังจากเลือกตั้งแล้ว
                  ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีความเชื่อมั่นในผลการนับคะแนน โดยแสดงความเห็นว่า
                  “เพราะเมื่อเกิดปัญหาและเกิดการสงสัยในการดำาเนินงานของ กกต.และไม่สามารถแสดงถึงความบริสุทธิ์

                  ต่อประชาชนและสื่อมวลชนได้” “ไม่เชื่อ เพราะสามารถปรับเปลี่ยนกระดาษที่ลงคะแนนได้” “ไม่เชื่อมั่น

                  เนื่องจากการนับคะแนนในรอบนี้ กกต. ไม่ค่อยเป็นกลาง มีข่าวออกมาเกี่ยวกับ กกต.ที่นับคะแนนไม่สุจริต”
                  “ไม่เชื่อมั่น เพราะมีข่าวออกมาเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของคณะกรรมการการเลือกตั้ง” จากข้อมูลและคำาตอบ
                  ข้างต้นสะท้อนว่าประชาชนเชื่อมั่นในการทำางานของคณะกรรมการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น แต่ไม่เชื่อมั่นใน

                  ผลคะแนนที่ประกาศโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง


                          อย่างไรก็ตาม แม้ทุกคนจะไม่เชื่อมั่นในการนับคะแนน แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนกลับแสดงทัศนะว่า
                  ผู้สมัครและพรรคที่แพ้ควรยอมรับผลการเลือกตั้งโดยไม่ต่อต้าน ซึ่งอาจมองได้ว่าประชาชนไม่ต้องการให้เกิด

                  ความวุ่นวายในทางการเมืองและต้องการให้ทุกอย่างจบลงโดยการที่ทุกฝ่ายยอมรับในผลการตัดสิน ทั้งนี้
                  เพราะประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีแนวโน้มสูงที่อาจจะไม่สามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้

                  ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นว่า “(ความขัดแย้ง) ไม่ลดลง เพราะประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้”
                  “ไม่ลด เพราะส.ส.ด้วยกันยังไม่ยอมรับจึงส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอยู่เรื่อย ๆ” “ไม่ลด เพราะการเลือกตั้ง

                  ไม่ได้เป็นหนทางที่จะนำาไปสู่การลดความขัดแย้งลง” (สอดคล้องกับทัศนะก่อนการเลือกตั้งที่สะท้อนว่า
                  ประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าพรรคการเมืองจะสามารถทำางานในระบบรัฐสภาได้อย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพ)

                  ดังนั้น ถ้าปล่อยให้แต่ละฝ่ายสามารถคัดค้านหรือทำาตามใจตนเองได้ก็อาจกระทบกับการทำางานของรัฐบาลและ
                  กลับมาวุ่นวายเหมือนก่อน
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114