Page 108 - kpiebook63013
P. 108

108   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             ประชาชนยังคงพิจารณาวุฒิการศึกษาเป็นสำาคัญ และอาจทำาให้การเป็นตัวแทนทางการเมืองเป็นเรื่องของ

             คนที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูงเท่านั้น


                      ในเรื่องของอายุของผู้สมัคร ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าอายุของผู้สมัครมีผลต่อ
             การตัดสินใจเลือก โดยเป็นไปได้สองทาง ในทางหนึ่ง หากผู้สมัครอายุน้อยแสดงให้เห็นว่า “มีความทันสมัย

             สามารถที่จะพัฒนาได้มากกว่า มีความคิดแนวทางใหม่ ๆ มากกว่าคนอายุเยอะที่ความคิดล้าหลัง” “ถ้าแก่มากไป
             จะเชื่องช้า การตัดสินใจที่ล้าหลัง เข้ายุคไอทีแล้วก็ต้องหาอายุน้อย ๆ หัวสมัยใหม่เข้ามาบริหาร” ในอีกทาง

             หนึ่ง หากผู้สมัครอายุมากจะแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีมากกว่า “มีผล ยิ่งอายุมากก็มีประสบการณ์มาก
             มีจุดยืนที่มั่นคง มีวุฒิสภาวะมากกว่าคนที่อายุน้อย ๆ” “ส่งผล ถ้าอายุยังน้อยมีความคิดหรือทัศนคติ

             ที่ใหม่ก็จริง แต่ยังด้อยต่อประสบการณ์ในการทำางานทางด้านการเมือง” ขณะที่ผู้ในสัมภาษณ์ส่วนน้อยเท่านั้น
             (30 เปอร์เซ็นต์) ที่เห็นว่าอายุไม่มีผลต่อการตัดสินใจ “ไม่เกี่ยว อายุเป็นเพียงตัวเลข ดูว่าคนนั้นดีหรือไม่ดี”

             “ไม่มีผล อายุไม่สามารถการันตีประสบการณ์ได้” “ไม่ขึ้นกับอายุ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ”

                      ไม่ต่างจากปัจจัยเรื่องพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าพรรคการเมืองเป็น

             ปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้ตัดสินใจในการเลือกลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัคร โดยให้ความเห็นว่า “ส่งผล เพราะดูนโยบาย

             พรรคว่ามีแนวคิดเป็นยังไง มองถึงแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในอนาคต” “มีผล เพราะอุดมการณ์พรรค
             ที่มีไม่เหมือนกัน และนโยบายในแต่ละพรรคเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจหลักในการตัดสินใจเลือก” “มีผล
             คนในพรรคต้องเป็นคนดี มีอุดมการณ์ความคิดที่ดี ดูนโยบายของพรรคประกอบด้วย” เป็นต้น ซึ่งสอดคล้อง

             กับข้อมูลก่อนการเลือกตั้งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ให้ความสำาคัญกับ

             พรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลอย่างเห็นได้ชัด โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจาก “พรรคการเมืองเป็นที่ผลิตนโยบาย
             ในการหาเสียง” “พรรคการเมืองเป็นจุดกำาเนิดของอุดมการณ์” “พรรคการเมืองดำาเนินการทางการเมืองมา
             อย่างยาวนาน” และ “หัวหน้าพรรคการเมืองมีบทบาทอย่างมาก” เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการให้การยอมรับ

             เชื่อมั่น และให้ความสำาคัญกับบทบาทของพรรคการเมืองในระดับหนึ่ง


                      สำาหรับอาชีพ ผู้ให้สัมภาษณ์ (70 เปอร์เซ็นต์) ในเขตเลือกตั้งที่ 1 เห็นว่าอาชีพไม่มีผลต่อการตัดสินใจ

             โดยมองว่า “อาชีพอะไรไม่ส่งผล เพราะมองที่นโยบายและทัศนคติของผู้สมัคร” “ไม่มีผล เพราะอยู่ที่คนไม่เกี่ยวกับ
             อาชีพ ไม่ใช่เป็นข้าราชการแต่ขี้โกงก็ไม่เลือก ดูที่การใส่ใจประชาชน” “ไม่มีผล อาชีพข้าราชการบางคนก็สามารถ
             ทุจริตได้เพราะฉะนั้นอาชีพไม่มีผล” ดังนั้น จะเห็นว่าในสายตาของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ อาชีพไม่ได้แสดงให้เห็นว่า

             ผู้สมัครคนนั้นจะเป็นคนดีหรือคนเก่ง เพราะแม้อาชีพที่ดีและได้รับการยกย่องจากประชาชนเช่นอาชีพรับราชการ

             นั้นก็ยังปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งว่ามีการทุจริต อนึ่ง การไม่ใช้กลุ่มอาชีพเป็นเกณฑ์สำาคัญในการลงคะแนนสะท้อน
             ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีอาชีพเกี่ยวกับการค้าและการบริการ (เพราะอยู่ใน
             เขตเมือง) เปิดโอกาสให้ผู้สมัครจากอาชีพที่หลากหลายเข้าไปทำาหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113